Skills

Talent Mapping คืออะไร

Talent Mapping คืออะไร Talent Mapping เทคนิคด้านทรัพยากรบุคคล สำหรับใช้ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์และแก้ปัญหาการสรรหาบุคลากรให้กับองค์กร . ขั้นตอนการทำ Talent Mapping ครอบคลุมทั้งการสำรวจ และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดแรงงาน ผู้สมัคร คู่แข่งในตลาด ฐานข้อมูลในองค์กร เทรนด์ที่กำลังนิยม หรือแม้แต่การสัมภาษณ์จากบุคลากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และพิจารณาควบคู่กับคุณสมบัติของผู้สมัครและตำแหน่งงานที่ต้องการสรรหาเพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการสรรหาพนักงานให้องค์กรหรือแก้ไขปัญหาด้านการสรรหาตามโจทย์ที่ตั้งไว้ . การทำ Talent Mapping จึงเป็นประโยชน์สำหรับองค์กรที่ต้องการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล การสร้างทีม หรือเปิดตลาดใหม่ เช่น กรณีที่องค์กรต้องการขยายธุรกิจหรือขยายการจ้างงานในตลาดใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน แน่นอนว่าองค์กรต้องการข้อมูลสนับสนุนเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ในการตัดสินใจด้านทรัพยากรบุคคล รวมถึงข้อมูลที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปัญหาด้านการสรรหาที่แก้ไม่ตกมาเป็นเวลานาน เช่น ปัญหาตำแหน่งงานที่ว่างอยู่เป็นเวลานาน ปัญหาการได้พนักงานที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งจนทำให้ Turnover Rate สูง หรือ ในกรณีที่องค์กรต้องการยกระดับการสรรหาให้มีคุณภาพมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มงานบางประเภทที่ประสบปัญหาในการหาคนมาร่วมทีมไม่ได้ หรือตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการของตลาดสูง  Talent Mapping ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ . ประโยชน์ของการทำ Talent Mapping มีอะไรบ้าง? ได้ข้อมูลเชิงลึกจากตลาดแรงงาน ผู้สมัคร คู่แข่ง เพื่อใช้ในการวางกลยุทธ์ ด้านการสรรหา และการจัดการด้านบุคลากรในตำแหน่งงานหรือธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง เข้าใจภาพรวมตลาดแรงงานและสภาพแวดล้อมในการแข่งขันด้านการสรรหาในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน มีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ ทั้งการขยายการจ้างงานในตลาดใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน การสร้างทีมใหม่

Continue reading

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร เมื่อพูดถึงตำแหน่ง HR หรือ ฝ่ายบุคคลในองค์กร ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ากลายเป็นตำแหน่งที่จะถูกมองบน หรือไม่ก็เบ้ปากใส่ แล้วทำไม HR ถึงกลายเป็นตำแหน่งงานที่พนักงานไม่ชอบกันนะ . ถ้ามองจากหน้าที่ภาระงานหลักของตำแหน่งงานนี้ ก็คือ คนกลาง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รักษาผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายภายใต้กฎหมาย แต่ในบางองค์กรกลายเป็นว่า HR จ้องจะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจนเอาเปรียบพนักงานเกินไป (หารู้ไม่ HR ก็ถูกบีบมาเหมือนกัน) อีกหน้าที่คือดูแลความเรียบร้อยภายในองค์กรจนบางที่กลายเป็น HR จู้จี้จุกจิก พนักงานคนอื่น ๆ ก็พลอยไม่ชอบและร้องหยีใส่ . แต่!!! การที่พนักงานคนอื่นไม่ชอบฝ่าย HR อาจไม่ใช่เพราะหน้าที่ที่ HR ต้องทำก็ได้นะ บางคนอาจเข้าใจในหน้าที่ของ HR และไม่นำเรื่องนี้มาเป็นสาเหตุความไม่พอใจส่วนบุคคล แต่อาจเป็นเพราะการวางตัว การปฏิบัติตัว และนิสัยส่วนตัวของ HR คนนั้น ๆ ก็ได้ . แล้วทำอย่างไรถึงจะเป็น HR มืออาชีพ . ทำงานเหนือความคาดหวัง HR ไม่จำเป็นต้องอ่านใจพนักงานทุกคนออกหรอก แต่ถ้า HR สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ สร้างความประทับใจให้พนักงานได้ คงดีไม่น้อย 

Continue reading

ใครควรบริหารค่าจ้างเงินเดือนในองค์กร ?

ใครควรบริหารค่าจ้างเงินเดือนในองค์กร ? ประเด็นการบริหารค่าจ้างเงินเดือนพนักงานของบริษัทว่าควรจะให้ ใคร บริหารค่าจ้างเงินเดือนระหว่าง ฝ่ายบุคคล หรือ ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ บริหารกันเอง . ซึ่งประเด็นสาเหตุของความขัดแย้งนี้โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากฝ่ายบุคคลและฝ่ายผู้จัดการหรือผู้บริหารสายงาน ต้องการว่าจ้างพนักงานใหม่และมีการพูดตกลงเงินเดือนกับทางพนักงานใหม่โดยไม่ผ่านการเห็นชอบ หรือการปรึกษากับทางฝ่ายบุคคล ไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้างเงินเดือนและอัตราเงินเดือนของพนักงานภายในองค์กรในปัจจุบัน ซึ่งผลของการทำแบบที่กล่าวมา ปัญหาก็คือ เมื่อพนักงานมาคุยกันเองก็รู้เงินเดือนของกันและกัน ปัญหาก็เลยเกิดขึ้นว่า ทำไมคนใหม่ที่เข้ามายังไม่รู้เรื่องอะไร ผลงานก็ยังไม่ได้สร้างเลย แต่ได้เงินเดือนสูงกว่าพนักงานเก่าที่ทำงานและสร้างผลงานมาก่อนอีก ซึ่งปัญหานี้มักจะถูกโยนไปที่ฝ่ายบุคคลทุกครั้งเมื่อมีคำถามแบบนี้ออกมา . การกำหนดเงินเดือนพนักงานด้วยตัวผู้จัดการฝ่าย หรือการที่ฝ่ายบุคคลยอมให้เงินเดือนนั้นๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอาจเกิดปัญหาตามมาในสายงาน ต่างถือเป็นเรื่องที่ผิดทั้งสองฝ่าย แต่ส่วนใหญ่ฝ่ายบุคคลมักจะขัดไม่ได้เนื่องจากหัวหน้าหรือผู้จัดการมักจะข้ามไปคุยกับในระดับผู้บริหารในการตัดสินใจโอยไม่ผ่านฝ่ายบุคคล ปัญหาเรื่องการบริหารค่าจ้างเงินเดือนในกรณีแบบนี้ ไม่ควรจะเกิดขึ้นในองค์กรเพราะทำให้เกิดความระส่ำระส่ายของพนักงาน พนักงานเองจะรู้สึกว่าบริษัทไม่เป็นธรรมในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ดังนั้นถ้าจะให้ดี เรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น ควรจะบริหารดังต่อไปนี้ . • ฝ่ายบุคคลเป็นผู้กำหนดอัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษา และกำหนดอัตราโครงสร้างเงินเดือนของบริษัททั้งหมดในภาพรวม โดยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้อนุมัติให้ใช้ เมื่อมีโครงสร้างเงินเดือนแล้ว จะต้องบริหารตามโครงสร้างที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด . • ผู้จัดการตามสายงานจะไม่มีอำนาจในการกำหนดอัตราเงินเดือนให้พนักงานด้วยตนเอง ถ้าสัมภาษณ์แล้วชอบใจผู้สมัคร อาจจะพูดคุยเรื่องของอัตราเงินเดือนได้ แต่สุดท้ายจะให้เท่าไหร่นั้น จะต้องให้ฝ่ายบุคคลเป็นผู้พิจารณากำหนดอัตรา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับคนในด้วย ประเภทคนใหม่ได้รับเงินเดือนมากกว่าคนเก่าที่มีฝีมือดีๆ . • ผู้บริหารระดับสูงสุดเองก็ต้องเดินตามนโยบายที่ตนเป็นผู้อนุมัติเอง ไม่ใช่พอผู้จัดการฝ่ายเข้ามาขอให้ให้เงินเดือนตามที่เขาขอ โดยข้ามฝ่ายบุคคล แล้วผู้บริหารก็ตัดสินใจเลย แบบนี้จะสร้างปัญหามากกว่า

Continue reading

การสื่อสารในองค์กร…เรื่องง่าย ๆ ที่กลายเป็นปัญหา

การสื่อสารในองค์กร…เรื่องง่าย ๆ ที่กลายเป็นปัญหา . เมื่อการสื่อสาร ที่เป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ แต่กลับกลายเป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของคนทำงาน . ในองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก หน้าที่งานและความต้องการต่างกัน การสื่อสาร จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนในอค์กรทำงานของตัวเองรวมกับงานของแผนกอื่น ๆ ได้อย่างราบรื่น ผลงานออกมาเป็นไปตามที่คาดหวัง ยิ่งในยุคที่มี Remote Working หรือ Work from Anywhere เข้ามาใช้ ประสิทธิภาพจองการสื่อสารแบบทางไกลก็ลดลง ไม่เจอหน้ากัน ไม่ได้คุยกันแบบตัวต่อตัว กลายเป็นว่า การสื่อสาร เป็นปัญหาหลักของคนทำงานไปแล้ว . 1. สื่อสารมากเกินไป / น้อยเกินไป สื่อสารมากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี แล้วแบบไหนที่เรียกว่า เหมาะสม คงยากที่จะวัดว่าแบบไหนคือพอดีแล้ว . ประชุมมากไป นัดคุยกันถี่เกินไป แต่ละครั้งใช้เวลานาน ก็อาจทำให้ชิ้นงานหรือแม้แต่ความคืบหน้าที่นำมาอัพเดทนั้น ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังเลย นั่นเพราทุกคนมัวแต่เตรียมตัวประชุม ว่างจากการประชุมก็ต้องรีบทำงาน แต่กลายเป็นว่ารีบทำงานให้มีความคืบหน้าเพื่อนำมาอัพเดทเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซะงั้น แล้วสรุปว่าที่ประชุมกัยบ่อย ๆ นี่มีประโยชน์จริงหรือเปล่า . ในขณะเดียวกัน ไม่ประชุม ไม่นัดคุย ไม่อัพเดท

Continue reading

ReSkill ด้วยกฎ 3x3x3

ReSkill ด้วยกฎ 3x3x3 ในยุคของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การ Reskill ปรับทักษะของเราให้ทันโลกอยู่เสมอถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองนั้นไม่ยากเท่าเรื่องราวระหว่างทาง กฎ 3x3x3 จะช่วยให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นได้ . กฎ 3x3x3 คืออะไร ? บทความเรื่อง Intentional learning จาก Mckinsey บริษัทให้คำปรึกษาชื่อดัง ได้รวบรวมข้อมูลคำแนะนำต่าง ๆ มาสร้างเป็นเทคนิค 3x3x3 ที่ทำได้ง่ายและใช้ได้จริง และไม่เพียงแต่นำกฎนี้ไปใช้ในการ Reskill เท่านั้น การ Upskill หาทักษะใหม่ ๆ มาเพิ่มก็นำกฎนี้ไปใช้ได้เช่นกัน . 3 เป้าหมาย คนเราเวลาอยากจะตั้งเป้าหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักจะมุ่งไปแค่เรื่องเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นความคิดที่ถูกต้องเพราะสมองของเราถูกสร้างขึ้นมาให้โฟกัสเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเรื่อง ๆ ไป การโฟกัสหรือตั้งเป้าหมายอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน นอกจากอาจจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ยังอาจนำพาเป้าหมายอื่น ๆ สำเร็จช้าลงด้วย . แต่โดยส่วนมาก เป้าหมายในชีวิตคนเรานั้นมีมากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว การจำกัดเป้าหมายไว้เพียงแค่ 1 นอกจากจะเป็นการกดดันตัวเองมากเกินไป อาจทำให้เราพลาดโอกาสเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ

Continue reading

Multitasking…ระวัง !!! สมองพังไม่รู้ตัว

Multitasking…ระวัง !!! สมองพังไม่รู้ตัว ‘Multitasking’ คำที่หลายคนคุ้ยเคย หนึ่งในทักษะสำคัญที่องค์กรคาดหวัง และมักปรากฏในประกาศงาน เพื่อให้ผู้สมัครประเมินตัวเองว่า “คุณสามารถทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกันหรือไม่” . Multitasking คือ ความสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน หรือทำไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุกอย่างแข่งขันกับเวลา การจ้างงานบุคลากรหลายตำแหน่งในหลายหน้าที่ อาจไม่ตอบโจทย์การบริหารทรัพยากรบุคคลในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ทักษะนี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในความคาดหวังที่องค์กรต้องการจากตัวบุคลากร . อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบ Multitasking Skill อาจไม่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นตามที่หวังไว้ แต่อาจกลายเป็นเพิ่มงบประมาณและเพิ่มภาระให้กับองค์กรได้ . บางคนทำงานแบบ Multitasking ได้ดี อาจเพราะเกิดจากความชำนาญส่วนตัว บางคนทีระบบจัดการความคิดที่ดี สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ และมีการประมวลผลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามาถทำงานหลายอย่างไปพร้อม ๆ กันได้จนสำเร็จ และสำเร็จอย่างดีด้วย เพราะบางคนทำงานหลายอย่างให้เสร็จพร้อมกันได้ แต่งานที่ออกมาใช้ไม่ได้เลย…ก็มี . Multitasking ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะสมองของมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ประมวลผลอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ต่างกับคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประมวลผลจากข้อมูลจำนวนมาก และทำได้ในเวลาเดียวกัน สมองของมนุษย์รองรับการโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อเราทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ประสิทธิภาพการทำงานของสมองจะลดลง อาจจะเกิดอาการ มึน

Continue reading

Low-Code…เครื่องมือทุ่นแรงของเหล่า Developer

Low-Code…เครื่องมือทุ่นแรงของเหล่า Developer ในยุคที่ Programmer / Developer เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก มีเท่าไรก็ไม่เคยพอ แถมงานที่ต้องให้โปรแกรมเมอร์ทำก็ไม่เคยหมด เจ้า Low-Code นี่แหละ จะเป็นเครื่องมือทุ่นแรงช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้เร็วขึ้น รวมถึงยังเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้เรียนตรงสายมาเป็นนักพัฒนาง่ายขึ้นด้วย .  Low-Code คืออะไร? Low-Code Platform คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานง่ายขึ้น เร็วขึ้น เขียนโค้ดน้อยลง จากที่ต้องเขียนกันเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ บรรทัด หรือใช้เวลาเป็นชั่วโมง อาจเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาที คนเขียนโปรแกรมเองจะสามารถคุยกับผู้ใช้งานได้รู้เรื่องขึ้น อย่างไรก็ตาม การเขียน Low-Code ยังต้องการพื้นฐานการเขียนโปรแกรมอยู่ระดับหนึ่ง จึงเหมาะกับนักพัฒนาที่ต้องการเครื่องมือทุ่นแรง แต่หากคนที่ไม่มีพื้นฐานใด ๆ เลยอยากจะเรียนรู้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับการเริ่มเรียน High-Code แน่นอน . การคาดคะเนเชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Low-Code เช่น ภายในปี 2024 การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ Low-Code Platform จะมีมากถึง 65% 75% ขององค์กรใหญ่ ๆ จะใช้เครื่องมือ Low-Code Platform อย่างน้อย 4

Continue reading

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน ความฉลาด ใครเป็นคนนิยาม ความฉลาดคือต้องรู้หรือต้องเก่งอะไรจึงจะเรียกว่า ‘คนฉลาด’ เก่งคำนวณ? พูดได้หลายภาษา? หรือคะแนนทดสอบ IQ สูงกว่าคนทั่วไป คือ คนฉลาด? แปลว่าใครที่ไม่มีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นคือ ‘คนโง่’ อย่างนั้นหรือ โนวววววว จำกัดความคำว่า ฉลาด ไว้แค่นั้นไม่ได้นะคะ คนเก่งดนตรี ศิลปะ ทำอาหาร หรือทักษะอื่น ๆ ก็คือคนฉลาดค่ะ . ทฤษฏีนี้เป็นของ ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์ได้ให้ทฤษฎีพหุปัญญาว่าด้วยความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 9 ด้านด้วยกันค่ะ . 1. Logical-Mathematical Intelligence ฉลาดเรื่องตัวเลขและตรรกะ ความฉลาดตามมาตรฐานโรงเรียนทั่วไป ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุเป็นผล และมีทักษะการคำนวณ การแก้ปัญหา การมีความละเอียดรอบคอบ ผู้ที่มีความฉลาดด้านนนี้ เช่น นักบัญชี นักสถิติ

Continue reading

ประเมินผลการทำงานของชาว Developer…ไม่ได้วัดกันแค่ Technical Skills

ประเมินผลการทำงานของชาว Developer…ไม่ได้วัดกันแค่ Technical Skills เป็น Developer เขียน Code ทำ Web / App ส่งลูกค้าก็จบแล้ว ประเมินผ่าน/ไม่ผ่าน ก็แค่เรื่องเขียน Code ….No No No! ใครว่าแค่เขียน Code เก่งแล้วผลการประเมินจะออกมาดีเลิศ . หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการทำงานของชาว IT คงจะคิดว่า การที่ Developer / Programmer / หรือชาว IT ในส่วนงานอื่น ๆ ได้ต้องรับการประเมินการปฏิบัติงานเนี่ย เขาคงวัดกันที่ Technical Skills เป็นหลัก เช่น Coding ได้ วิเคราะห์ปัญหา แก้ Bug รันระบบได้ Website หรือ Application ที่ทำขึ้นใช้งานได้ตรงใจลูกค้า ก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง การวัดผลการทำงานไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่เรื่อง Technical อย่างเดียว ยังมีตัวชี้วัดในหลายด้านที่มีความสำคัญไม่แพ้กันอีกหลายข้อเลยค่ะ . Communication Skills

Continue reading

Power Skills คืออะไร? เทรนด์ใหม่ แห่งยุค 2022

Power Skills คืออะไร? เทรนด์ใหม่ แห่งยุค 2022 Power Skills เทรนด์ใหม่แห่งยุค 2022 ที่กำลังถูกพูดถึง…ว่าแต่…นี่คือของใหม่จริงหรือ? ต่างจาก Skill อื่น ๆ ไหม? แล้ว Power Skills แห่งยุค 2022 มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ? . เมื่อพูดถึง Skills หรือทักษะต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Hard Skills และ Soft Skills กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ Hard Skills คือ ทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งในแต่ละสายอาชีพ ก็จะมี Head Skills ที่แตกต่างกันไป เช่น นักบัญชีต้องมีความรู้ทางด้วนบัญชีทำงบการเงิน สถาปนิกต้องมีทักษะด้านการคำนวณและการเขียนแบบ สาย IT ก็ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมและการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ แล้ว Soft Skills หละ? Soft Skills ก็คือ ทักษะหรือความสามารถเฉพาะบุคคล เป็นเรื่องของอารมณ์ ความคิด

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

© Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr