Post Archive by Month: May,2022

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1 PDPA เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยิน รู้หรือยังว่าคืออะไร จะบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว ถ้าไม่ศึกษาไว้แล้วทำผิดพลาด อาจติดคุกได้เลย! . PDPA คืออะไร ? . PDPA หรือ Personal Data Protection Act เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้ . ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มักเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยง่าย ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์ เช่น การสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Application แม้แต่การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (เห็นได้จากตอนที่เราติดตั้ง Application แล้วระบบของ Smartphone ขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของเราก่อนใช้งาน) รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคลลที่องค์กรได้จากการสมัครงานของผู้สมัคร โดยสิ่งที่ปรากฏในใบสมัครงานนั้นมักเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงบุคคลนั้นได้โดยง่าย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ . ดังนั้น จึงได้มีการสร้าง กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

Continue reading

“มีอะไรจะถามไหม?” คำถามที่ต้องเจอตอนสัมภาษณ์งาน…ถามอะไรดี?

“มีอะไรจะถามไหม?” คำถามที่ต้องเจอตอนสัมภาษณ์งาน…ถามอะไรดี? ช่วงสุดท้ายของการสัมภาษณ์งาน เรามักจะถูกถามคำถามนี้จาก HR หรือผู้ที่ทำการสัมภาษณ์เรา “มีคำถามอะไรที่อยากถามไหม” “อยากรู้อะไรไหม ถามได้นะ” หากคนสัมภาษณ์ยิงคำถามนี้มา นั่นคือคาดหวังให้คุณถามกลับเพื่อเน้นย้ำว่าคุณสนใจในตำแหน่งงานนี้ และนี่ยังเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้รู้จักองค์กรก่อนเข้าทำงานด้วย แล้วคำถามอะไรบ้างที่คุณควรถามเมื่อมีโอกาส . ถามเกี่ยวกับงาน ข้อมูลอะไรที่ยังไม่ชัดเจนใน Job Description ของงาน หน้าที่หลัก ภาระงานในแต่ละวัน งานอื่น ๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของคุณโดยตรง ถามได้และควรถามด้วย เพราะคุณจะได้รู้ว่านอกเหนือจากหน้าที่หลักที่คุณรู้ว่าต้องทำแล้ว มีอะไรบ้างที่คุณจะต้องเจอ อาจมีภาระงานอื่น ๆ ที่คุณอาจต้องทำเป็นครั้งคราว ความท้าทายของงานนี้คืออะไร Career Path ของตำแหน่งงานนี้เป็นอย่างไร เติบโตไปได้ในระดับไหน สามารถหมุนเวียนหรือย้ายสายงานไปตำแหน่งใดในองค์กรได้บ้าง ก่อนเริ่มงานต้องเตรียมตัวอย่างไร มีอบรมเตรียมความพร้อม หรือ Training ให้หรือไม่ KPIหรือหัวข้อประเมินการทำงานเช่นเรื่องอะไรบ้าง คำถามเหล่านี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์รับรู้ได้ว่าคุณมีความสนใจในตำแหน่งงานนี้ มีความอยากเตรียมพร้อมทั้งก่อนเริ่มงานไปจนถึงอนาคตในการทำงานนี้ . ถามเกี่ยวกับองค์กร วัฒนธรรมขององค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง สไตล์การทำงานเป็นอย่างไร นอกจาก Hard Skills จะเป็นเรื่องสำคัญของการทำงานแล้ว Soft Skills หรือ Power Skills บางอย่างก็จะบอกได้ว่าเรามีบุคลิกลักษณะที่จะเข้ากับองค์กรได้หรือไม่ ทีมมีกี่คน เราต้องทำงานกับใครบ้าง

Continue reading

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม?

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม? หลายครั้งที่เราได้ยินคนเรียก นักทดสอบระบบว่า Software Tester ในขณะที่ QA หรือ Quality Assurance ก็ทำหน้าที่ทดสอบระบบเหมือนกัน…แล้ว 2 ตำแหน่งนี้ทำงานเหมือนหรือต่างกันยังไง? . ในการเขียน Software (Web หรือ Application) ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งโดยทีม Programmer / Software Developer ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง จะต้องมีการ Test หรือทดสอบระบบของ Software นั้น ๆ เพื่อให้ระบบทำงานได้ตามที่นักพัฒนาต้องการหรือคาดหวังไว้ โดยผู้ที่ทำการทดสอบระบบ เราเรียกว่า Software Tester นั่นเอง แต่ในหลายองค์กร เราก็เรียก Tester ว่า QA หรือ Quality Assurance นอกจากความต้องการทดสอบให้ระบบรันไปตามที่ควรจะเป็นแล้ว Tester / QA ยังต้องคอยหาจุดบกพร่อง หรือ Bug ที่จะเกิดขึ้นระหว่างใช้งานระบบ รวมถึงต้องคอยติดตาม ทำการทดสอบซ้ำ

Continue reading

Burnout!!! ภาวะหมดไฟ แก้ยังไง ไม่ให้ไฟหมด

Burnout…ภาวะหมดไฟ แก้ยังไง ไม่ให้ไฟหมด “Burnout Syndrome” ภาวะหมดไฟจากการทำงานที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่ เกิดจากอะไร แก้ยังไงดี ก่อนที่ไฟจะหมดลงจริง ๆ . Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นภาวะที่คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สาเหตุหลักเกิดจากความเครียดและกดดัน งานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักหรือผ่อนคลายจิตใจ ส่งผลกระทบถึงอารมณ์และความรู้สึก เกิดความเหยื่อล้า อ่อนเพลีย ท้อแท้ หมดพลัง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน บางครั้งส่งผลเสียถึงสุขภาพจนถึงขั้นต้องลาออกจากงานจริง ๆ นอกจากสาเหตุด้านความเครียดจากงานหนักแล้ว ยังเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวอีกด้วย เช่น ความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ปัญหาภายในทีม ความไม่ยุติธรรมที่ถูกปฏิบัติจากนายจ้าง หรือแม้แต่การกดดันตัวเอง ตั้งมาตรฐานการทำงานชองตัวเองสูงเกินไป เมื่อไม่ประสบความสำเร็จก็เกิดความผิดหวังและด้อยค่าตัวเองได้ . สังเกตตัวเอง คุณ Burnout อยู่หรือเปล่า ? อาการทางใจ – หดหู่ ขาดแรงจูงใจ ไม่อยากตื่นขึ้นมาทำงาน รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ สิ้นหวัง ขี้เกียจทำงานแล้ว อยากลาออก อาการทางกาย – ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ปวดหัวบ่อย หมดแรง เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากเกินไป คลื่นไส้ เวียนหัว

Continue reading

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร?

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร? โดยปกติแล้ว วันแรงงานแห่งชาติมักจะตรงกับวันทำงาน จันทร์-ศุกร์ พนักงานก็จะได้หยุดตามปกติ แต่ปีนี้วันแรงงานตรงกับวันอาทิตย์พอดี ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของใครหลาย ๆ คนอยู่แล้ว แล้วใครได้หยุด ใครต้องทำงาน ใครกำลังโดยนายจ้างเอาเปรียบ ไปอ่านกัน! . พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคมด้วย ส่วนอีก 12 วันเลือกจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือวันหยุดตามประเพณีท้องถิ่น . วันหยุดวันแรงงานแห่งชาติจะบังคับให้เป็นวันหยุดของ ลูกจ้าง แรงงาน และพนักงานบริษัทเอกชน รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี แต่หากเป็นธนาคารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าอาจเปิดทำการในบางแห่ง ส่วนข้าราชการ พนักงานในหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้หยุดในวันแรงงานแห่งชาติ แต่จะได้หยุดชดเชยอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 วันฉัตรมงคล และวันพืชมงคล (เอกชนจะไม่ได้หยุดในวันนี้) . ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

© Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr