News

ลาคลอด ได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน

ลาคลอด ได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน ลาคลอด เป็นอีกหนึ่งสิทธิวันลาที่ลูกจ้างจะได้รับ โดยพนักงานที่ใช้สิทธิลาจะได้รับค่าจ้างในวันที่ลาด้วย . วันลาคลอด ไม่เท่ากับ ≠ วันลาป่วย เนื่องจากทางกฎหมาย ได้กำหนดสิทธิวันลาคลอดไว้ให้โดยเฉพาะอยู่แล้ว และให้จำนวนวันมากกว่าวันลาป่วย ดังนั้น หากใครจะลาคลอด ต้องใช้สิทธิ “วันลาคลอด” เท่านั้น จะใช้สิทธิวันลาป่วยไม่ได้ . ในเว็บไซต์ของสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่า “ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุด” และ พรบ.แรงงาน ก็ได้เพิ่มเติมมาอีก 8 วัน สำหรับการตรวจครรภ์ ดังนั้นจำนวนวันที่ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดได้ จากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน . นับเป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง พนักงานก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย) . วันลาคลอด นับอย่างไร? กฎหมายมาตรา 41

Continue reading

เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น…จะบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างไร

เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น…จะบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างไร อัตรเงินเฟ้อทำให้อัตราค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น สินค้าจากต่างประเทศขึ้นราคาไม่หยุดหย่อน ทั้งน้ำมัน พลังงาน วัตถุดิบประกอบอาหาร หรือแม้แต่ไข่ไก่ ที่เป็นเมนูหลักของคนทั่วไป ก็ยังขึ้นราคา ทุกอย่างแพงขึ้น ในขณะที่เงินเดือนพนักงานเท่าเดิม…อะไรบ้างที่ผู้ประกอบการพอจะช่วยเหลือพนักงานผู้เป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญขององค์กรได้ . พนักงานหลายคนก็คงพยายามหาวิธีในการปรับตัวแล้ว แต่ก็ยังใช้เงินแบบเดือนชนเดือน เรียกได้ว่า หากเงินเดือนออกช้าไปเพียง  2 วัน อาจทำให้ใช้ชีวิตติดขัดได้เลย การบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานในช่วงค่าครองชีพสูงแบบนี้มีหลายวิธี แต่ละองค์กรต้องพิจารณาและวางแผนว่าวิธีใดเหมาะสมมากที่สุด . 1. ปรับฐานเงินเดือนพนักงาน การปรับฐานเงินเดือนพนักงานให้สูงขึ้น อาจต้องกำหนดว่า พนักงานกลุ่มไหนที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพสูงมากที่สุด ก็อาจจะปรับให้เฉพาะกลุ่มนั้นก่อน จากการสำรวจของบริษัท Think People Consulting ที่ปรึกษาด้านการบริหารค่าจ้างเงินเดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากที่สุดก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มพนักงานจบใหม่ ที่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท . วิธีนี้ทำได้ง่าย เราสามารถกำหนดอัตราปรับให้เท่ากันทุกคนก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ การเพิ่มต้นทุนคงที่ในเรื่องเงินเดือนพนักงานขององค์กร คงต้องพิจารณาว่า เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นให้นี้จะไปกระทบกับอะไรบ้าง เช่น เงินสมทบประกันสังคม สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การขึ้นเงินเดือนในปีถัดไป โบนัสตามผลงาน ฯลฯ . 2. เพิ่มเงินค่าครองชีพอีกก้อนหนึ่งแยกจากเงินเดือน เป็นอีกวิธีที่มีหลายบริษัททำกัน เราสามารถกำหนดเงินค่าครองชีพเพิ่มเติมให้กับพนักงาน โดยให้ทุกคนเท่ากัน และให้ประจำทุกเดือนไปเลย

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2 บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้ . ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) . สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน ฯลฯ . สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ . สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1 PDPA เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยิน รู้หรือยังว่าคืออะไร จะบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว ถ้าไม่ศึกษาไว้แล้วทำผิดพลาด อาจติดคุกได้เลย! . PDPA คืออะไร ? . PDPA หรือ Personal Data Protection Act เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้ . ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มักเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยง่าย ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์ เช่น การสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Application แม้แต่การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (เห็นได้จากตอนที่เราติดตั้ง Application แล้วระบบของ Smartphone ขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของเราก่อนใช้งาน) รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคลลที่องค์กรได้จากการสมัครงานของผู้สมัคร โดยสิ่งที่ปรากฏในใบสมัครงานนั้นมักเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงบุคคลนั้นได้โดยง่าย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ . ดังนั้น จึงได้มีการสร้าง กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

Continue reading

LGBTQ+…”พลังคลื่นใหม่ขององค์กร” – หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ ตอนที่ 2

Diversity & Inclusion…หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ ตอนที่ 2 : LGBTQ+…”พลังคลื่นใหม่ขององค์กร” 🏳‍🌈 จากบทความครั้งก่อน เราได้พูดถึง ความหลากหลายในองค์กร ที่คนส่วนใหญ่ต้องพบเจอ ทำความเข้าใจ และปรับตัวกับความแตกต่างเหล่านั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านตำแหน่งงาน อายุ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงความหลากหลายทางเพศ ที่กำลังกลายเป็นพลังคลื่นใหม่ที่เหล่าองค์กรชั้นนำให้ความสำคัญกันมาก บทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านร่วมเข้าถึงและเข้าใจในความแตกต่างนี้มากขึ้นค่ะ . หากพูดถึง “ความแตกต่าง” ก็ย่อมมี “ความขัดแย้ง” เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ถึงแม้ในปัจจุบันองค์กรหลายแห่งเริ่มเล็งเห็นปัญหาจากความแตกต่างเหล่านั้นและเริ่มรณรงค์เรื่อง Diversity & Inclusion โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อความเท่าเทียมทางเพศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีคนส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับกับความแตกต่างนี้ ยิ่งเมื่อต้องร่วมงานกัน ทำงานด้วยกัน การแสดงออกและการปฏิบัติจากคนเหล่านี้ต่อพนักงานที่เป็น LGBTQ+ ก็ยังคงสร้างความอึดอัดใจไม่น้อย ทำให้ LGBTQ+ บางกลุ่มเลือกที่จะไม่แสดงออกว่าตนเป็นเพศทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเลือกปฏิบัติและปฏิกิริยาจากผู้ที่ไม่ยอมรับ ทำให้เกิดความเครียด ความอัดอั้นตันใจ อาจส่งผลให้ปฏิบัติงานไม่ได้เต็มกำลังความสามารถเท่าที่ควรจะเป็น และยังรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา . ไม่เพียงเท่านั้น พนักงาน LGBTQ+ ที่ทำงานติดต่อกับลูกค้าหรือ Partner ทางธุรกิจจำนวนไม่น้อย ต้องเผชิญกับคำพูดหรือการปฏิบัติที่เหยียดหยาม ดูถูก หรือถูกถอดออกจากโครงการ เพียงเพราะลูกค้าไม่อยากได้คนที่มีความแตกต่างทางเพศเข้าร่วมในทีม กลายเป็นปัญหาการเลือกปฏิบัติที่กระทบต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของชาว LGBTQ+

Continue reading

Hybrid Working…New Normal สู่ Next Normal

Hybrid Working…New Normal สู่ Next Normal เมื่อทำงานที่บ้านกันมานาน ความรู้สึกของการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศก็คงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป พนักงานจำนวนไม่น้อยที่เริ่มคุ้นชินกับการ Work from Home และสะดวกใจจะทำงานที่บ้านมากกว่า…แล้วองค์กรจะปรับตัวอย่างไร ให้ถูกใจพนักงาน โดยยังคงบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้…Hybrid Working อาจเป็นคำตอบ . จากบทความครั้งก่อนเรื่อง จุดเปลี่ยนองค์กร กับการทำงานหลังยุค COVID-19 ได้มีการกล่าวถึงการทำงานแบบ Work from Anywhere ไปแล้ว นั่นก็คือการทำงานแบบ Hybrid Working เป็นการทำงานแบบมีความยืดหยุ่น พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ แบบ Remote Working โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับทีมจากสถานที่ต่างกัน หรือจะสลับกันเข้าออฟฟิศ พนักงานคนไหนหรือทีมไหนอยากเข้าออฟฟิศก็แจ้งได้เลย แต่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาออฟฟิศทุกวันเหมือนแต่ก่อนแล้ว . การทำงานแบบ Hybrid Working แพร่หลายมาสักระยะหนึ่งแล้วทางฝั่งอเมริกาและยุโรปโดยเฉพาะองค์กรด้านเทคโนโลยี เนื่องจากระบบการทำงานและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อค่อนข้างเอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนก็ยังคงกังวลกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานแบบ Hybrid อยู่บ้าง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการทำงานของเหล่าพนักงานได้ตลอดเวลางาน แต่เมื่อมีการพร่ระบาดของไวรัส องค์กรต้องให้พนักงาน Work from Home อย่างเลี่ยงไม่ได้ บางองค์กรใช้วิธีให้พนักงานเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศสลับกับทำงานที่บ้าน ทำให้การทำงานแบบ Hybrid กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในยุค

Continue reading

จุดเปลี่ยนองค์กร กับการทำงานหลังยุค COVID-19

จุดเปลี่ยนองค์กร กับการทำงานหลังยุค COVID-19 การทำงานในยุค Covid-19 หลายองค์กรมีนโยบายให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส พนักงานบางคน WFH ได้แค่ 6 เดือน บางคน 1 ปี หรือบางคนก็ทำงานที่บ้านมาตั้งแต่ Covid ซีซั่นแรก รวมระยะเวลาก็ 2 ปีเห็นจะได้ จาก ‘บ้าน’ ที่เคยเป็นที่พักอาศัย กลายเป็นเสมือนเป็นออฟฟิศใหม่ไปแล้ว บางคนถึงกับจัดโซนสำหรับทำงานขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะเพื่อสร้างบรรยากาศให้น่าทำงานมากยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์โรคระบาดมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัททั้งหลายเริ่มให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิม แต่ปัญหาที่อาจตามมาก็คือ พนักงานที่ WFH มาเป็นเวลานานนั้นจะรู้สึกเหมือนเดิมไหม เพราะการทำงานที่บ้านสำหรับบางคนนั้นสะดวกสบายกว่าที่ออฟฟิศ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจะลดลงหรือไม่ ออฟฟิศยังจำเป็นสำหรับการทำงานหรือเปล่า ‘บริษัท’ จะต้องเจออะไรบ้าง? . Workcation : Work กับ ธรรมชาติ Work From Home กลายเป็นชีวิตรูปแบบใหม่ของเหล่าพนักงาน ทำงานที่บ้าน ไม่ต้องรีบร้อนในตอนเช้า ไม่ต้องเผชิญการจราจรที่เลวร้าย มีเวลาทำงานถึงหัวค่ำ ไม่ต้องรีบกลับบ้านเพราะกลัวรถติด บางคนทำงานจนถึงก่อนเข้านอนเลยก็มี ถึงแม้จะดู Work ไร้ Balance ไปบ้าง

Continue reading

รู้จัก IoT เทคโนโลยียุค Digital

มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความสะดวกสบายในชีวิต ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า พัฒนาไปไกลขึ้นในทุก ๆ วัน เทคโนโลยีหลายอย่างถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยเฉพาะ IoT หรือ Internet of Things ที่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้นสะดวกสบายขึ้นอย่างมาก แล้วเจ้า ‘IoT’ คืออะไร มีอะไรบ้างที่เรากำลังใช้งานอยู่โดยไม่รู้ว่ามันคือ ‘IoT’ มาดูกันเลย . IoT หรือ Internet of Things คือ สิ่งที่เราใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถใช้งาน ควบคุม และรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้น ๆ ผ่านอปกรณ์ Smartphone หรือ PC จริง ๆ แล้ว IoT นั้นอยู่รอบตัวเรามาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ Smart Home เช่น ระบบล็อกประตูอัจฉริยะ ระบบเปิด-ปิดไฟในบ้าน หรือ ระบบควบคุมอุณหภูมิ ที่ถูกควบคุมโดย Application ทำให้มีความสะดวกและง่ายต่อการใข้งานอย่างมาก Smartwatch ก็เป็นหนึ่งใน IoT เช่นกัน และยังรวมถึงระบบที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับยานพาหนะด้วย และ IoT ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน แต่ยังถูกใช้งานสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วย

Continue reading

Cisco Systems…บริษัทที่คนอเมริกันอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด

“Cisco Systems” บริษัทที่คนอเมริกัน…อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ถ้าเราตั้งคำถามว่า บริษัทอะไรที่คุณอยากเข้าไปทำงานมากที่สุด คำตอบของคนส่วนใหญ่ ก็คงจะไม่พ้นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Apple, Alphabet (Google), Facebook ที่เราคุ้น ๆ หูกันอยู่ เพราะบริษัทเหล่านี้ ขึ้นชื่อเรื่องของการให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานอย่างคุ้มค่า มีสวัสดิการดี ๆ ให้พนักงาน รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ดึงดูดให้คนข้างนอกอยากเข้าไปร่วมงานด้วยเหลือเกิน แต่ถ้าอ้างอิงจากการจัดอันดับบริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยในปี 2021 ของนิตยสาร Fortune ผลการสำรวจ พบว่า บริษัทที่คนอยากร่วมงานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ “Cisco Systems” . “Cisco Systems” Cisco Systems เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ทำการผลิตพร้อมทั้งจัดจำหน่ายทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เครือข่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงโดยจัดจำหน่ายทั้งผู้ใช้ทั่วไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ Cisco มีพนักงานราว ๆ 36,000 คน โดยในปี 2021 บริษัทมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.2 ล้านล้านบาท (ซึ่งมีมูลค่าเป็นเกือบ 7 เท่า ของบริษัทที่ใหญ่สุดในไทยอย่าง ปตท.เลยหละ) แต่เมื่อเทียบมูลค่าบริษัทของ Cisco Systems กับบริษัทเทคโนโลยีใหญ่

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

© Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr