Post Archive by Month: June,2022

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้ ประกันสังคมคืออะไร ทำไมต้องจ่าย? จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง? เรื่องที่เด็กจบใหม่หลายคนอาจยังไม่รู้ (อย่าว่าแต่เด็กจบใหม่เลย ผู้ใหญ่บางคนก็ยังไม่รู้) 😂 . ประกันสังคม หรือ กองทุนประกันสังคม ช่องทางเลือกสำหรับสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตเพื่อสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต หรือแม้แต่การคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร รวมถึงเมื่อสมาชิกว่างงาน ก็จะสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ . คนทำงานประจำในบริษัทหลายคนรู้เพียงแค่ว่า บริษัทจะหักเงินเข้าประกันสังคมจากเงินเดือนของเราในทุก ๆ เดือน แต่รู้หรือไม่ว่า เงินที่เราจ่ายไป 750 บาทต่อเดือน เราได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง แล้วถ้าเราไม่ได้เป็นพนักงานประจำในบริษัท เราสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมได้หรือไม่? . กองทุนประกันสังคม แบ่งผู้ประกันตนได้ 3 ประเภท พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก (มาตรา 39) แรงงานนอกระบบ / อาชีพอิสระ (มาตรา 40) ผู้ประกันตนแต่ละประเภทมีอัตราการจ่ายเงินแตกต่างกัน และจะได้สิทธิ์และความคุ้มครองต่างกัน . ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่

Continue reading

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน ความฉลาด ใครเป็นคนนิยาม ความฉลาดคือต้องรู้หรือต้องเก่งอะไรจึงจะเรียกว่า ‘คนฉลาด’ เก่งคำนวณ? พูดได้หลายภาษา? หรือคะแนนทดสอบ IQ สูงกว่าคนทั่วไป คือ คนฉลาด? แปลว่าใครที่ไม่มีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นคือ ‘คนโง่’ อย่างนั้นหรือ โนวววววว จำกัดความคำว่า ฉลาด ไว้แค่นั้นไม่ได้นะคะ คนเก่งดนตรี ศิลปะ ทำอาหาร หรือทักษะอื่น ๆ ก็คือคนฉลาดค่ะ . ทฤษฏีนี้เป็นของ ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์ได้ให้ทฤษฎีพหุปัญญาว่าด้วยความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 9 ด้านด้วยกันค่ะ . 1. Logical-Mathematical Intelligence ฉลาดเรื่องตัวเลขและตรรกะ ความฉลาดตามมาตรฐานโรงเรียนทั่วไป ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุเป็นผล และมีทักษะการคำนวณ การแก้ปัญหา การมีความละเอียดรอบคอบ ผู้ที่มีความฉลาดด้านนนี้ เช่น นักบัญชี นักสถิติ

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2 บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้ . ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) . สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน ฯลฯ . สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ . สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

© Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr