Author Archive for: Mr. Jarviz

Power Skills คืออะไร? เทรนด์ใหม่ แห่งยุค 2022

Power Skills คืออะไร? เทรนด์ใหม่ แห่งยุค 2022 Power Skills เทรนด์ใหม่แห่งยุค 2022 ที่กำลังถูกพูดถึง…ว่าแต่…นี่คือของใหม่จริงหรือ? ต่างจาก Skill อื่น ๆ ไหม? แล้ว Power Skills แห่งยุค 2022 มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ? . เมื่อพูดถึง Skills หรือทักษะต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงาน หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Hard Skills และ Soft Skills กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ Hard Skills คือ ทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งในแต่ละสายอาชีพ ก็จะมี Head Skills ที่แตกต่างกันไป เช่น นักบัญชีต้องมีความรู้ทางด้วนบัญชีทำงบการเงิน สถาปนิกต้องมีทักษะด้านการคำนวณและการเขียนแบบ สาย IT ก็ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมและการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ แล้ว Soft Skills หละ? Soft Skills ก็คือ ทักษะหรือความสามารถเฉพาะบุคคล เป็นเรื่องของอารมณ์ ความคิด

Continue reading

เมื่อ Gen Z กำลังครองตลาดแรงงาน องค์กรต้องรับมืออย่างไรให้ไปกันรอด

เมื่อ Gen Z กำลังครองตลาดแรงงาน องค์กรต้องรับมืออย่างไรให้ไปกันรอด… ยุคของ Gen Z เด็กรุ่นใหม่ ไฟแรง แซงทุกโค้ง กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  (และอาจเป็นส่วนใหญ่ในอนาคต)  องค์กรที่ยังคุ้นเคยกับการทำงานกันแบบเดิม ๆ ความคิดเดิม ๆ วิธีการเดิม ๆ อาจจะไม่ทันใจวัยรุ่น Gen Z สักเท่าไร แต่หากจะปฏิเสธไม่ร่วมงานกับเด็กรุ่นนี้ ก็คงไม่มีความคิดใหม่ ๆ ไอเดียเจ๋ง ๆ มาขับเคลื่อนองค์กร ทำให้ต้องย่ำอยู่กับที่เป็นแน่ แถมตลาดแรงงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็เต็มไปด้วยเด็กรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่าก็ตบเท้ารอเกษียณ แล้วองค์กรจะทำอย่างไร หากต้องปรับตัวเพื่อรองรับความไฟแรงของวัยรุ่น Gen Z ที่จะทำให้พวกเขาแสดงศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร โดยไม่ทำให้เหล่าผู้อาวุโสที่อยู่มาก่อนเกิด Culture Shock และองค์กรยังคงรักษาเด็ก ๆ Gen Z ให้ทำงานกันไปยาว ๆ ได้… . Gen Z คือ คำนิยามของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หมายถึงคนที่เกิดหลังจากปี ค.ศ. 1995 หรือปี พ.ศ.

Continue reading

Agile คืออะไร ทำไมฮิต?

Agile คืออะไร ทำไมฮิต? “Agile” หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำนี้ ยิ่งองค์กรยุคใหม่มักจะพูดถึงการทำงานแบบ Agile กันมาก แล้วมันคืออะไร? ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจริงหรือ? แล้วข้อเสียหละ? . Agile (เอไจล์ หรือ อะจาล์ว) เป็นแนวคิดการทำงานในยุค Digital องค์กรยุคใหม่หลายแห่งนำมาปรับใช้กับกระบวนการทำงาน เป็นวิธีการทำงานที่เน้น ‘ผลลัพธ์’ มากกว่า ‘ขั้นตอน’ โดยเป็นการนำบุคลากรจากหลาย ๆ สายงานมาทำงานร่วมกันเป็นทีม เน้นการสื่อสารและประสานงานกัน กำหนดเป้าหมายการทำงานเป็นระยะ ๆ สามารถส่งมอบชิ้นงาน หรืออัปเดตความคืบหน้ากันภายในระยะเวลาอันสั้น เน้นที่การรับรู้ข้อผิดพลาด หาทางแก้ไขปรับปรุงได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด หัวใจของการทำงานแบบ Agile คือ “การสื่อสาร” การสื่อสาร ระหว่างทีมงานนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำงานแบบ Agile เนื่องจากทีมงานประกอบด้วยบุคลากรจากหลายส่วนที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่ต่างกัน ดังนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำงานจะช่วยให้ทีมดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการสื่อสาร คือ การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะการทำงานแบบ Agile นั้น บุคลากรทุกคนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของทีม อะไรที่ต้องเพิ่ม ต้องปรับ ต้องแก้ไข ก็ควรเป็นความรับผิดชอบตนเองของคน ๆ

Continue reading

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : สัญญาจ้างงาน…ไม่ต้องเซ็นก็เป็น ‘สัญญา’ ได้

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : สัญญาจ้างงาน…ไม่ต้องเซ็นก็เป็นสัญญาได้ สัญญาการจ้างงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตกลงจ้างงานกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพราะนี่คือ ‘หลักฐาน’ ที่แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานนั้นสมบูรณ์ แล้วสัญญาแบบไหนที่นายจ้างควรจัดทำขึ้นเพื่อไม่ให้ผิดต่อหลักกฎหมายและลูกจ้างจะไม่โดนเอาเปรียบ . ‘สัญญา’ คืออะไร ? สัญญาการจ้างงาน ตามกฎหมายแรงงาน คือ สัญญาการตกลงว่าจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งหากตกลงด้วยวาจาทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่ายยอมรับแล้ว ก็ถือเป็นสัญญาจ้างงานแล้ว และเมื่อลูกจ้างลงมือทำงานให้นายจ้าง ก็ถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง องค์กรแทบทุกแห่งจะจัดทำเป็น ‘หนังสือสัญญาจ้าง’ ซึ่งจะระบุข้อมูลองค์กร รายละเอียดของงาน ข้อกำหนด เงื่อนไขการทำงานต่าง ๆ ให้เข้าใจและรับรู้ร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งต้องไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน ไม่เช่นนั้น สัญญานั้นจะกลายเป็นโมฆะ นอกจากนั้น หากไม่มีการทำหนังสือสัญญาหรือตกลงกันด้วยวาจา แต่อาจมีกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าจ้างให้ แต่ไม่ได้ตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น จะเป็นการตกลงจ้างงานโดยปริยาย ก็ถือเป็นสัญญาจ้างได้เช่นกัน . ปพพ. มาตรา ๕๗๕ บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะจ่ายสินจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้” . พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

Continue reading

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : วันหยุด วันลา ตามกฎหมาย หยุดได้กี่วันกันนะ…?

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : วันหยุด วันลา ตามกฎหมาย หยุดได้กี่วันกันนะ…? วันหยุด วันลา ถือเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการที่องค์กรมอบให้พนักงาน แล้ววันลาที่ HR มอบให้ลูกจ้างนั้น เป็นไปตามกฎหมายหรือเปล่านะ บางที่ให้วันหยุดและสิทธิ์ในการลาหยุดมากจนรู้สึกว่า องค์กรนี้ใจดีจังเลย ในขณะที่บางที่นั้น วันหยุดตามประเพณียังต้องไปทำงาน แถมสิทธิ์ในการลาหยุดนั้นน้อยกว่าที่อื่น ๆ . บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับวันหยุดตามกฎหมาย และสิทธิ์ในการลาหยุดตามกฎหมาย ที่ทั้ง HR และผู้ปฏิบัติงานต้องทราบ!!! HR เองก็จะต้องดูแลสิทธิ์ส่วนนี้ให้ครอบคลุมเพื่อป้องกันการฟ้องร้องทางกฎหมาย ในส่วนของลูกจ้างก็ต้องทราบไว้เพื่อไม่ให้โดนเอาเปรียบนะคะ . มาพูดถึง เวลาทำงาน และเวลาพัก กันก่อน กฎหมายกำหนดให้เวลาการทำงานของลูกจ้าง ไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ – หากเป็นงานด้านพาณิชยกรรม หรืองานทั่วไป จะให้ทำงาน ไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน ส่วนมากก็จะทำงานกัน 5 วัน จันทร์-ศุกร์ – หากเป็นงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฎกระทรวง จะให้ทำงาน ไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน และ ไม่เกิน 42

Continue reading

“มกราคม” ที่แสนยาวนาน กับอาการสุดฮิต “Post-Vacation Blue”

“มกราคม” ที่แสนยาวนาน กับอาการสุดฮิต “Post-Vacation Blue” “ทำไมเดือนมกราคมถึงผ่านไปช้าจัง” คำถามเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นในหัวของผู้อ่านบทความนี้แน่นอนใช่ไหมคะ แม้แต่ผู้เขียนเองก็รู้สึกเช่นกันว่า ทำไม…เดือนมกราคม…ถึงได้นานนนนนนนขนาดนี้ ราวกับว่าเดือนนี้มี 36 วัน “เมื่อไหร่จะปีใหม่อีกนะ จะได้หยุดยาว ทำงานไม่มีความสุขเลย” ความรู้สึกเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ . สำหรับความคิดหรืออาการเหล่านี้ มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เป็นข้อมูล ยืนยันว่า “ท่านไม่ได้รู้สึกแบบนี้คนเดียว” สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกเลยค่ะ . ความรู้สึกที่คิดว่า เดือนมกราคมนั้นผ่านไปช้ามาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนแรกของปีนั้นช่างเยอะเสียจนคิดว่าผ่านไปแล้ว 3 เดือน ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านี้ คือ “สารโดปามีน” สารแห่งความสุข ส่วนสำคัญของนาฬิกาสมองที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่เรารู้สึกมีสุข สบายใจ ตื่นเต้น ซึ่งสารชนิดนี้จะกระตุ้นให้นาฬิกาสมองเดินเร็วขึ้น ทำให้คุณรู้สึกว่า “ช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นผ่านไปไวเสียจริง” ในทางกลับกัน หากเรารู้สึกไม่มีความสุข ไม่สบายใจ ไม่มีเรื่องน่าตื่นเต้นใด ๆ หรือมีเรื่องเครียดให้สมองต้องโฟกัสกับสิ่งเร้าเหล่านั้น ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่า เวลานั้นผ่านไปช้าจนน่าหงุดหงิด ทั้ง ๆ ที่เวลาก็เดินไปตามปกติของมัน ยิ่งถ้าบริษัทของคุณงานเข้าตั้งแต่เดือนแรกของปี (งานเข้า ที่หมายถึง งานยุ่ง งานเยอะ งานเร่ง) ความหงุดหงิดใจนี้จะยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก และเมื่อจินตนาการว่าจะต้องเจอแบบนี้อีก 11 เดือนที่เหลือเลยไหม

Continue reading

LGBTQ+…”พลังคลื่นใหม่ขององค์กร” – หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ ตอนที่ 2

Diversity & Inclusion…หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ ตอนที่ 2 : LGBTQ+…”พลังคลื่นใหม่ขององค์กร” 🏳‍🌈 จากบทความครั้งก่อน เราได้พูดถึง ความหลากหลายในองค์กร ที่คนส่วนใหญ่ต้องพบเจอ ทำความเข้าใจ และปรับตัวกับความแตกต่างเหล่านั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านตำแหน่งงาน อายุ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงความหลากหลายทางเพศ ที่กำลังกลายเป็นพลังคลื่นใหม่ที่เหล่าองค์กรชั้นนำให้ความสำคัญกันมาก บทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านร่วมเข้าถึงและเข้าใจในความแตกต่างนี้มากขึ้นค่ะ . หากพูดถึง “ความแตกต่าง” ก็ย่อมมี “ความขัดแย้ง” เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ถึงแม้ในปัจจุบันองค์กรหลายแห่งเริ่มเล็งเห็นปัญหาจากความแตกต่างเหล่านั้นและเริ่มรณรงค์เรื่อง Diversity & Inclusion โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อความเท่าเทียมทางเพศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีคนส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับกับความแตกต่างนี้ ยิ่งเมื่อต้องร่วมงานกัน ทำงานด้วยกัน การแสดงออกและการปฏิบัติจากคนเหล่านี้ต่อพนักงานที่เป็น LGBTQ+ ก็ยังคงสร้างความอึดอัดใจไม่น้อย ทำให้ LGBTQ+ บางกลุ่มเลือกที่จะไม่แสดงออกว่าตนเป็นเพศทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเลือกปฏิบัติและปฏิกิริยาจากผู้ที่ไม่ยอมรับ ทำให้เกิดความเครียด ความอัดอั้นตันใจ อาจส่งผลให้ปฏิบัติงานไม่ได้เต็มกำลังความสามารถเท่าที่ควรจะเป็น และยังรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา . ไม่เพียงเท่านั้น พนักงาน LGBTQ+ ที่ทำงานติดต่อกับลูกค้าหรือ Partner ทางธุรกิจจำนวนไม่น้อย ต้องเผชิญกับคำพูดหรือการปฏิบัติที่เหยียดหยาม ดูถูก หรือถูกถอดออกจากโครงการ เพียงเพราะลูกค้าไม่อยากได้คนที่มีความแตกต่างทางเพศเข้าร่วมในทีม กลายเป็นปัญหาการเลือกปฏิบัติที่กระทบต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของชาว LGBTQ+

Continue reading

Diversity & Inclusion…หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ ตอนที่ 1

Diversity & Inclusion…หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ ตอนที่ 1 “คนเยอะ…เรื่องแยะ” คำพูดนี้ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นไปในทาง Negative ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อคนเยอะ ก็จะมีความหลากหลาย ความแตกต่าง เรื่องเยอะ ความคิดเห็นเยอะ ต้องตัดสินใจหรือตกลงกันด้วยความยากเย็น มากคน…มากความ แต่บางครั้ง ในหมู่คนจำนวนมากทีมีทั้งความหลากหลายและความแตกต่างปะปนกันอยู่ อาจเป็นประโยชน์กับองค์กรและการทำงานได้เช่นกัน . ความหลากหลายในองค์กรมีหลายรูปแบบ หลัก ๆ แล้วก็จะเป็นเรื่อง ความแตกต่างด้านตำแหน่งงาน ที่พนักงานแต่ละคนจะมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนงาน และยังเป็นความแตกต่างกันในระบบโครงสร้างองค์กรนั่นคือ ลำดับขั้น ซึ่งในส่วนนี้จะมีข้อดีต่อองค์กรอย่างเห็นได้ชัด คือ พนักงานมีความกระตือรือร้นและขวนขวายในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานที่สูงขึ้น เมื่อเห็นเพื่อนร่วมงานหรือพนักงานที่มีตำแหน่งต่ำกว่ากำลังได้รับการเลื่อนขั้น แรงขับเคลื่อนในการทำงานก็มากขึ้นกว่าตอนไหน ๆ เลยหละค่ะ . ความหลายหลายด้านอายุ เชื่อว่าผู้อ่านแทบทุกคนต้องเคยเจอมา ช่วงอายุ 20 ต้น ๆ ที่เริ่มชีวิตการทำงานที่แรก กลายเป็นคนที่มีอายุน้อยที่สุดในองค์กร หัวหน้าแทบจะอายุเท่าแม่เราด้วยซ้ำ เพื่อนร่วมงานก็วัย 28-40 เหมือนจะคุยกันเข้าใจแต่ก็ยังมี Gap หรือช่องว่างของช่วงวัยอยู่ดี มิหนำซ้ำ ความหลากหลายด้านอายุยังทำให้ความคิด ข้อเสนอแนะของเราในที่ประชุมนั้น ยังถูกเมินและถูกปัดตกไปเสมอ ๆ บ่อยครั้งเข้าจะทำให้ไม่อยากเสนอความคิดเห็นอะไรกลายเป็นคนไม่มีส่วนร่วมกับองค์กรไปอีก… แต่ถ้าคุณโชคดี เจอองค์กรที่เปิดกว้างแล้วหละก็

Continue reading

Empathy…เข้าใจและใส่ใจ ทำไมจึงสำคัญกับองค์กร?

Empathy…เข้าใจและใส่ใจ ทำไมจึงสำคัญกับองค์กร? การทำงาน ถือเป็นการใช้ชีวิตในสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ ผู้คนมากหน้าหลายตาที่ต้องทำงานร่วมกัน ประสานงานกัน หรือติดต่อกัน และเมื่อต้อง ‘สื่อสาร’กัน ก็ย่อมต้องมี ‘ความขัดแย้ง’ ที่ทำให้เกิดความกระอักกระอ่วน ไม่สบายใจขึ้นบ้างในบางครั้ง ยังรวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามารบกวนจิตใจ ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว หากมีใครสักคนที่คอยรับฟัง แนะนำ และพร้อมเข้าอกเข้าใจ คงจะดีไม่น้อย… นั่นเป็นเหตุผลง่าย ๆ ว่า ทำไม Empathy จึงสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในองค์กร . Empathy ? Empathy หมายถึง ความเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อื่น ทั้งในมุมมองของการทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือทำงานในสถานะ หัวหน้า-ทีมงาน การเข้าใจ ใส่ใจ เข้าถึงความรู้สึกหรือความต้องการของคน ๆ นั้น จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น หรือเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด เหมือน “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เราไม่ชอบอะไร ก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่นและถ้าเป็นเราโดนแบบนั้น เราคงไม่ชอบแน่ ๆ หรือแม้แต่ปัญหาส่วนตัวที่เกิดขึ้นกับคนรอบข้าง ถ้าเราสามารถรับมือและเข้าใจเขาได้ คำแนะนำไหนที่เราอยากได้รับ เราอาจจะนำไปปรับใช้และให้คำแนะนำกับคนรอบข้างของเราได้นั่นเองค่ะ . Empathy กับ ภาวะผู้นำ การสื่อสารกันด้วยความเข้าอกเข้าใจในฐานะของการเป็นผู้นำนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการทำงานร่วมกันกับคนในทีมหรือพนักงาน

Continue reading

Permanent Recruitment 🆚 Outsource…แบบไหนดีกว่ากัน?

Permanent Recruitment 🆚 Outsource…แบบไหนดีกว่ากัน? ช่วงใกล้ ๆ สิ้นปีแบบนี้ หลายคนอาจจะกำลังมองหางานใหม่ ประกอบกับผ่านพ้นช่วง Covid หนัก ๆ กันมาได้แล้ว เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว องค์กรต่าง ๆ กำลังมองหาคนมีความสามารถเข้าไปช่วยขับเคลื่อนองค์กรที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกันในปี 2565 ตำแหน่งงานที่แต่ละท่านได้รับข้อเสนอนั้นก็แตกต่างกันไป บางครั้งก็เป็นตำแหน่งงานประจำ (Permanent Recruitment) ที่ทำไปได้ยาว ๆ บางครั้งก็เป็นตำแหน่ง Outsource/Contract ระยะสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับองค์กรต้องการคนทำงานส่วนนี้นานแค่ไหน แต่บางครั้งเราก็ได้รับข้อเสนอตำแหน่งงาน 2 รูปแบบพร้อมกันเลยนี่สิ…จะเลือกงานแบบไหนดีนะ? . Permanent Recruitment Permanent Recruitment เรียกง่าย ๆ ว่า ‘พนักงานประจำ’ ก็คือพนักงานที่ทำงานให้องค์กรแบบเต็มเวลา ไม่มีการระบุระยะเวลาจ้างไว้ในสัญญา สวัสดิการได้ครบ มีโบนัส มีการปรับเงินเดือน แต่อาจจะต้องทำงานจุกจิกนอกเหนือจากงานที่ระบุไว้ใน Job Description และอาจต้องทำงานล่วงเวลาโดยมีค่าล่วงเวลา (OT) หรืออาจไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของบริษัท . แล้ว Outsource หละ? Outsource หรือ พนักงานสัญญาจ้าง เป็นการว่าจ้างบริษัทหรือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้ามาทำงานในองค์กร

Continue reading

Hybrid Working…New Normal สู่ Next Normal

Hybrid Working…New Normal สู่ Next Normal เมื่อทำงานที่บ้านกันมานาน ความรู้สึกของการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศก็คงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป พนักงานจำนวนไม่น้อยที่เริ่มคุ้นชินกับการ Work from Home และสะดวกใจจะทำงานที่บ้านมากกว่า…แล้วองค์กรจะปรับตัวอย่างไร ให้ถูกใจพนักงาน โดยยังคงบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้…Hybrid Working อาจเป็นคำตอบ . จากบทความครั้งก่อนเรื่อง จุดเปลี่ยนองค์กร กับการทำงานหลังยุค COVID-19 ได้มีการกล่าวถึงการทำงานแบบ Work from Anywhere ไปแล้ว นั่นก็คือการทำงานแบบ Hybrid Working เป็นการทำงานแบบมีความยืดหยุ่น พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ แบบ Remote Working โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับทีมจากสถานที่ต่างกัน หรือจะสลับกันเข้าออฟฟิศ พนักงานคนไหนหรือทีมไหนอยากเข้าออฟฟิศก็แจ้งได้เลย แต่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาออฟฟิศทุกวันเหมือนแต่ก่อนแล้ว . การทำงานแบบ Hybrid Working แพร่หลายมาสักระยะหนึ่งแล้วทางฝั่งอเมริกาและยุโรปโดยเฉพาะองค์กรด้านเทคโนโลยี เนื่องจากระบบการทำงานและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อค่อนข้างเอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนก็ยังคงกังวลกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานแบบ Hybrid อยู่บ้าง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการทำงานของเหล่าพนักงานได้ตลอดเวลางาน แต่เมื่อมีการพร่ระบาดของไวรัส องค์กรต้องให้พนักงาน Work from Home อย่างเลี่ยงไม่ได้ บางองค์กรใช้วิธีให้พนักงานเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศสลับกับทำงานที่บ้าน ทำให้การทำงานแบบ Hybrid กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในยุค

Continue reading

จุดเปลี่ยนองค์กร กับการทำงานหลังยุค COVID-19

จุดเปลี่ยนองค์กร กับการทำงานหลังยุค COVID-19 การทำงานในยุค Covid-19 หลายองค์กรมีนโยบายให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส พนักงานบางคน WFH ได้แค่ 6 เดือน บางคน 1 ปี หรือบางคนก็ทำงานที่บ้านมาตั้งแต่ Covid ซีซั่นแรก รวมระยะเวลาก็ 2 ปีเห็นจะได้ จาก ‘บ้าน’ ที่เคยเป็นที่พักอาศัย กลายเป็นเสมือนเป็นออฟฟิศใหม่ไปแล้ว บางคนถึงกับจัดโซนสำหรับทำงานขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะเพื่อสร้างบรรยากาศให้น่าทำงานมากยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์โรคระบาดมีแนวโน้มดีขึ้น บริษัททั้งหลายเริ่มให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิม แต่ปัญหาที่อาจตามมาก็คือ พนักงานที่ WFH มาเป็นเวลานานนั้นจะรู้สึกเหมือนเดิมไหม เพราะการทำงานที่บ้านสำหรับบางคนนั้นสะดวกสบายกว่าที่ออฟฟิศ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจะลดลงหรือไม่ ออฟฟิศยังจำเป็นสำหรับการทำงานหรือเปล่า ‘บริษัท’ จะต้องเจออะไรบ้าง? . Workcation : Work กับ ธรรมชาติ Work From Home กลายเป็นชีวิตรูปแบบใหม่ของเหล่าพนักงาน ทำงานที่บ้าน ไม่ต้องรีบร้อนในตอนเช้า ไม่ต้องเผชิญการจราจรที่เลวร้าย มีเวลาทำงานถึงหัวค่ำ ไม่ต้องรีบกลับบ้านเพราะกลัวรถติด บางคนทำงานจนถึงก่อนเข้านอนเลยก็มี ถึงแม้จะดู Work ไร้ Balance ไปบ้าง

Continue reading

พบจิตแพทย์ ไม่ได้แปลว่า ‘บ้า’

หลายคนเข้าใจว่า ‘จิตแพทย์’ นั้น มีหน้าที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชเท่านั้น แล้วถ้าเราอยากพบจิตแพทย์ คนอื่น ๆ จะว่าเรา ‘เป็นบ้า’ ไหมนะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ‘จิตแพทย์’ มีหน้าที่อย่างไร รักษาอาการอะไรได้บ้าง แล้วอาการแบบไหนถึงจะเรียกว่า ‘บ้า’ อาการที่หลายคนต้องเผชิญอยู่เรียกว่า ‘บ้า’ หรือเปล่านะ ? . จิตแพทย์ คือ แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ที่มีอาการผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือทางจิตใจ ซึ่งผู้ที่เข้ามารับการรักษานั้นมีความหลากหลายมาก บางคนอาจจะมีอาการทางจิตที่ผิดปกติชัดเจน เช่น อาการหูแว่ว หวาดระแวง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้าท้อแท้ จนรบกวนต่อการใช้ชีวิต ขณะที่บางคน อาจมีภาวะเครียด นอนไม่หลับ หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตบางอย่าง . พบจิตแพทย์ = บ้า? Schizophrenia หรือ โรคจิตเภท เป็นโรคความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่งผลต่อการพูด การคิด การรับรู้ ความรู้สึก และการแสดงออกของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ อย่างประสาทหลอน พูดคนเดียว หลงผิด ปลีกตัวจากสังคม หรือไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ คนส่วนใหญ่มักจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ‘คนวิกลจริต’

Continue reading

รู้จัก IoT เทคโนโลยียุค Digital

มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความสะดวกสบายในชีวิต ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า พัฒนาไปไกลขึ้นในทุก ๆ วัน เทคโนโลยีหลายอย่างถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยเฉพาะ IoT หรือ Internet of Things ที่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้นสะดวกสบายขึ้นอย่างมาก แล้วเจ้า ‘IoT’ คืออะไร มีอะไรบ้างที่เรากำลังใช้งานอยู่โดยไม่รู้ว่ามันคือ ‘IoT’ มาดูกันเลย . IoT หรือ Internet of Things คือ สิ่งที่เราใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถใช้งาน ควบคุม และรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้น ๆ ผ่านอปกรณ์ Smartphone หรือ PC จริง ๆ แล้ว IoT นั้นอยู่รอบตัวเรามาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ Smart Home เช่น ระบบล็อกประตูอัจฉริยะ ระบบเปิด-ปิดไฟในบ้าน หรือ ระบบควบคุมอุณหภูมิ ที่ถูกควบคุมโดย Application ทำให้มีความสะดวกและง่ายต่อการใข้งานอย่างมาก Smartwatch ก็เป็นหนึ่งใน IoT เช่นกัน และยังรวมถึงระบบที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับยานพาหนะด้วย และ IoT ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน แต่ยังถูกใช้งานสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วย

Continue reading

สมองแล่นตอนดึก ทำงานกลางคืน นอนเช้า…อันตรายหรือไม่?

“ทำงานตอนกลางวัน หัวไม่แล่น คิดงานไม่ออก แต่พอตกกลางคืน ความคิดใหม่ ๆ ไอเดียเจ๋ง ๆ ไหลมาไม่หยุด” เคยเป็นกันไหมคะ? แล้วมีผลกระทบกับสุขภาพหรือไม่? ควรปรับตัวอย่างไรให้งานออกมาดีแล้วสุขภาพไม่พังเสียก่อน มาอ่านบทความนี้กันค่ะ . ช่วงเวลาปกติที่บริษัททั่วไปกำหนดเป็นเวลาทำงาน ก็มักจะเป็นช่วงพระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกดิน บางบริษัทเริ่มทำงานตั้งแต่ 7.00 น. บางบริษัทก็เริ่มทำงานกันช้าขึ้นไปจนถึง 10.00 น. ส่วนเวลาเลิกงานนั้น ก็นับไป 8-9 ชั่วโมง บางแห่งก็แบ่งกันเข้างานตามกะ แต่ก็มีบริษัทจำนวนไม่น้อย ใช้วิธีนับเวลาการทำงานแบบ Flexible Time นับแค่ชั่วโมงทำงานที่องค์กรกำหนดไว้ จะเริ่มทำตอนกี่โมง เลิกงานตอนไหน ขอแค่ทำงานครบชั่วโมงที่กำหนดก็เพียงพอ ยิ่งในช่วงหลังมานี้ หลายบริษัทจำเป็นต้องให้พนักงาน Work from Home หรือทำงานที่บ้าน เพราะสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น พนักงานหลาย ๆ คนเริ่มทำงานกันแบบไม่เป็นเวลา เข้างานตรงเวลา แต่ทำงานแล้วติดลม กว่าจะเลิกทำงานจริง ๆ ก็ปาเข้าไป 2-3 ทุ่ม โดยเฉพาะบางคนนั้น ยิ่งดึกยิ่งหัวแล่น สมองลื่นไหล คิดงานอะไรก็เป็นไปตามต้องการ พนักงานบางคนที่ทำงานแบบ Flexible Time ถึงขั้นเปลี่ยนเวลาทำงานมาเป็นช่วงกลางคืนอย่างเต็มรูปแบบกันเลยทีเดียว

Continue reading

Monday Blue…ทำไมเราเกลียดวันจันทร์

Monday Blue…ทำไมเราเกลียดวันจันทร์ ถ้าตั้งคำถามว่า “ในบรรดาวันทำงาน จันทร์-ศุกร์ คุณชอบวันไหนมากที่สุด” คำตอบส่วนใหญ่คงเป็น ‘วันศุกร์’ เพราะเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่จะต้องทำงานและได้หยุดในวันเสาร์-อาทิตย์ แถมตอนค่ำคืนของวันศุกร์ยังมีการพบปะสังสรรค์กับเพื่อน ๆ เพื่อคลายความเครียดที่สะสมมาตลอดทั้งสัปดาห์ บางคนอาจจะชอบ ‘วันพุธ’ ที่ได้ดูหนังลดราคาหลังเลิกงาน และช็อปต่อในห้างกับดีลวันพุธสุดคุ้ม Saleกันทุกวันพุธไปเลย แต่ ‘วันพฤหัสฯ’ ก็ไม่ได้แย่นะ เพราะเป็นวันที่ใกล้วันศุกร์แล้ว อาจจะต้องรีบเคลียร์งานเพื่อให้วันศุกร์ของเรานั้น ว่าง ๆ บ้าง แต่ก็ยังแฮปปี้อยู่ดี แค่คิดว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ก็ฟินแล้ว . แล้วถ้าถามว่า “คุณไม่ชอบวันไหนมากที่สุด” คำตอบที่ถูกตอบอกมาโดยไม่ต้องคิดเลย ก็คือ ‘วันจันทร์’ เสียงส่วนใหญ่ต้องบอกว่าเป็นวันนี้อย่างแน่นอน เพราะอะไรหนะหรอ… ก็เพราะว่ามันเป็นวันแรกของสัปดาห์การทำงานยังไงหละ จริง ๆ จิตใจก็เริ่มห่อเหี่ยวตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว แต่ ‘วันจันทร์’ คือของจริง!!! ทั้งงานเก่าที่ต้องรีบเคลียร์ งานใหม่ที่กำลังจะเข้ามา แถมประชุม ประชุม ประชุมมมมมม ทั้งวัน (เผลอ ๆ ประชุมเช้าไม่ทันด้วย เพราะรถติดมาก) เห้อ… เหลือเวลาทำงานกี่ชั่วโมงเอ่ย? ความวุ่นวายนี้อาจจะส่งผลไปถึง ‘วันอังคาร’ เลยก็ได้นะ ใครงานยุ่ง ๆ ต้องบริหารเวลาให้ดี

Continue reading

ทำอย่างไร…? เมื่อเพื่อนร่วมงานทยอยลาออก เหลือเราคนเดียว

ทำอย่างไร…? เมื่อเพื่อนร่วมงานทยอยลาออก เหลือเราคนเดียว ‘เพื่อนร่วมงานทยอยลาออก เหลือเราทำงานอยู่คนเดียว’ ‘อยากหาที่ทำงานใหม่ จะลาออกตามเพื่อน’ ‘หมดไฟ ไม่มีทีมเวิร์คที่เคยทำงานด้วยแล้ว คิดอะไรไม่ออกเลย’ หลาย ๆ คนอาจเกิดความคิดเหล่านี้ เมื่อเพื่อนร่วมงานทยอยลาออกกันทีละคน สองคน จนหมดทีม เหลือเราทำงานอยู่คนเดียว แถมยังมีน้องใหม่ที่มาแทนคนเก่า ต้องมานั่งปรับตัวกันอีก ทำให้เกิดความคิดหนึ่งเข้ามาในหัวว่า ‘อยากลาออกจังเลย’ ประกอบกับสภาะวะหมดไฟ คิดงานไม่ออก ไม่ตื่นตัวเหมือนช่วงแรก ๆ ที่เข้ามาทำงาน ช้าก่อน…นี่อาจไม่ใช่ความคิดที่แท้จริงของคุณ ลึก ๆ แล้ว อาจเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ในช่วงของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ก็ได้ค่ะ แล้วจะทำอย่างไรดี? ก่อนจะวู่วาม ลาออกให้จบ ๆ ไป ฮ่าๆ . วันนี้เรามีบทความจาก Nihar Chhaya โค้ชผู้บริหารมากประสบการณ์ ร่วมงานกับบริษัทระดับโลกอย่าง American Airlines และ Coca-Cola ได้เขียนเล่าประสบการณ์และวิธีรับมือเมื่อต้องเจอปัญหาเหล่านี้ . ให้เวลากับตัวเอง ไม่แปลกเลยถ้าคุณจะรู้สึกใจหายและหดหู่กับการเปลี่ยนแปลงที่เร็วจนไม่ทันได้ตั้งตัว ความคิดอยากจะลาออกตามเพื่อน ก็เป็นเรื่องปกติ คุณอาจคิดว่าเพื่อนร่วมงานของเราได้ไปมีอนาคตที่ดีกว่า ได้ร่วมงานกับองค์กรใหม่ ต้องดีแน่เลย แต่ในความเป็นจริง เราไม่อาจรู้ได้ว่าเพื่อนเราต้องเจอกับอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คิดก็ได้ .

Continue reading

Cisco Systems…บริษัทที่คนอเมริกันอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด

“Cisco Systems” บริษัทที่คนอเมริกัน…อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ถ้าเราตั้งคำถามว่า บริษัทอะไรที่คุณอยากเข้าไปทำงานมากที่สุด คำตอบของคนส่วนใหญ่ ก็คงจะไม่พ้นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Apple, Alphabet (Google), Facebook ที่เราคุ้น ๆ หูกันอยู่ เพราะบริษัทเหล่านี้ ขึ้นชื่อเรื่องของการให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานอย่างคุ้มค่า มีสวัสดิการดี ๆ ให้พนักงาน รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ดึงดูดให้คนข้างนอกอยากเข้าไปร่วมงานด้วยเหลือเกิน แต่ถ้าอ้างอิงจากการจัดอันดับบริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยในปี 2021 ของนิตยสาร Fortune ผลการสำรวจ พบว่า บริษัทที่คนอยากร่วมงานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ “Cisco Systems” . “Cisco Systems” Cisco Systems เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ทำการผลิตพร้อมทั้งจัดจำหน่ายทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เครือข่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมรวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงโดยจัดจำหน่ายทั้งผู้ใช้ทั่วไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ Cisco มีพนักงานราว ๆ 36,000 คน โดยในปี 2021 บริษัทมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 7.2 ล้านล้านบาท (ซึ่งมีมูลค่าเป็นเกือบ 7 เท่า ของบริษัทที่ใหญ่สุดในไทยอย่าง ปตท.เลยหละ) แต่เมื่อเทียบมูลค่าบริษัทของ Cisco Systems กับบริษัทเทคโนโลยีใหญ่

Continue reading

ตกงานเพราะ Covid ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป…จาก Rider ส่งอาหาร สู่ “Developer”

ตกงานเพราะ Covid ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป ต้องไปเป็น Rider ส่งอาหาร แต่ชีวิตก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง เพราะวันนี้เขากลายเป็น “Developer” อย่างเต็มตัว สถานการณ์ Covid ที่เกิดขึ้น อาจจะเปลี่ยนชีวิตของใครหลาย ๆ คนไป บางคนถูกลดเงินเดือน บางคนก็โดนพักงาน แย่ที่สุดก็คือ ตกงาน ทำให้ต้องดิ้นรนหางานใหม่ ‘คุณอิทธิพล’ ก็เป็น 1 ในคนที่ถูกเลิกจ้างเพราะสถานการณ์ Covid ทำให้ต้องประกอบอาชีพ Delivery ส่งอาหาร ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ Intensive Programmer ของ Optimistic HR ที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาอีกครั้ง . 📌แนะนำตัว เป็นใคร ทำอาชีพอะไรมาก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ Intensive Programmer ของ Optimistic HR สวัสดีครับ ชื่ออิทธิพล อายุ 38 ปี ก่อนหน้านี้ทำ IT Support อยู่ แล้วพอมีปัญหา Covid เข้ามา ก็ตกงาน จากนั้นก็ไปขับรถเป็น Food

Continue reading

เรียนมาไม่ตรงสาย แต่อยากเป็น Programmer เขาทำได้…คุณก็ทำได้

จากวิศวกรโรงงาน เรียนมาไม่ตรงสาย อยากเปลี่ยนสายงานเป็น IT แต่เคยเขียนโปรแกรมแค่ในวิชาเรียนเท่านั้น วันนี้ ‘คุณณัฐกฤษณ์’ ได้ทำงานเป็น Developer แบบเต็มตัว ภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังเข้าร่วมโครงการ Intensive Programmer ของ Optimistic HR มาสร้างแรงบันดาลใจและสานฝันการเป็น Programmer ผ่านบทสัมภาษณ์นี้กันค่ะ . ✏แนะนำตัว เป็นใคร ทำอาชีพอะไรมาก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ Intensive Programmer ของ Optimistic HR สวัสดีครับ ชื่อณัฐกฤษณ์ จบปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหการ ทำงานโรงงานมา 3 ปี ในตำแหน่ง Quality Improvement สนใจอยากเปลี่ยนสายงาน อยากลองหาโอกาสใหม่ ๆ ดู . ✏รู้จักโครงการนี้ได้อย่างไร? เห็น Ads จาก Facebook ดูน่าสนใจครับ . ✏ในการสมัครมีการคัดเลือกอย่างไรบ้าง ? หลังจากทำการสมัครทาง Online ไป บริษัทก็ติดต่อแจ้งรายละเอียดว่าเรียนอะไรบ้าง ระยะเวลาอบรมประมาณเท่าไร

Continue reading

Categories

Recent Posts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2025 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr