HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร

เมื่อพูดถึงตำแหน่ง HR หรือ ฝ่ายบุคคลในองค์กร ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ากลายเป็นตำแหน่งที่จะถูกมองบน หรือไม่ก็เบ้ปากใส่ แล้วทำไม HR ถึงกลายเป็นตำแหน่งงานที่พนักงานไม่ชอบกันนะ

.

ถ้ามองจากหน้าที่ภาระงานหลักของตำแหน่งงานนี้ ก็คือ คนกลาง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รักษาผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายภายใต้กฎหมาย แต่ในบางองค์กรกลายเป็นว่า HR จ้องจะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจนเอาเปรียบพนักงานเกินไป (หารู้ไม่ HR ก็ถูกบีบมาเหมือนกัน) อีกหน้าที่คือดูแลความเรียบร้อยภายในองค์กรจนบางที่กลายเป็น HR จู้จี้จุกจิก พนักงานคนอื่น ๆ ก็พลอยไม่ชอบและร้องหยีใส่

.

แต่!!! การที่พนักงานคนอื่นไม่ชอบฝ่าย HR อาจไม่ใช่เพราะหน้าที่ที่ HR ต้องทำก็ได้นะ บางคนอาจเข้าใจในหน้าที่ของ HR และไม่นำเรื่องนี้มาเป็นสาเหตุความไม่พอใจส่วนบุคคล แต่อาจเป็นเพราะการวางตัว การปฏิบัติตัว และนิสัยส่วนตัวของ HR คนนั้น ๆ ก็ได้

.

แล้วทำอย่างไรถึงจะเป็น HR มืออาชีพ

.

ทำงานเหนือความคาดหวัง

HR ไม่จำเป็นต้องอ่านใจพนักงานทุกคนออกหรอก แต่ถ้า HR สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ สร้างความประทับใจให้พนักงานได้ คงดีไม่น้อย  และสิ่งที่จะได้รับกลับมาก็คือ ความไว้วางใจจากพนักงาน ทัศนคติที่มีต่อ HR ก็จะเปลี่ยนแปลงไป คิดเสมอว่า HR คืองานบริการอย่างหนึ่ง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้เราเข้าใจเขาและเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นค่ะ

.

รอบรู้

รอบรู้ในเรื่องที่ HR ต้องรู้ และควรรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพราะเราอาจต้องคอยตอบคำถามพนักงานในหัวข้อซ้ำ ๆ เดิม ๆ อยู่เสมอ ถามแล้วก็อาจจะมาถามอีกได้ เช่น วิธีการยื่นภาษีที่จะโดนถามทุกปี กฎหมายแรงงานข้อนี้เป็นอย่างไร “HR อธิบายหนอ่ยสิ” ถ้าเรารอบรู้ก็จะสามารถตอบคำถามพนักงานได้  และยังอธิบายเพิ่มเติมให้พนักงานเข้าใจชัดแจ้งมากขึ้นอีก ก็จะสร้างความเป็นเมื่ออาชีพให้ HR และยังทำให้พนักงานไว้ใจให้จัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ ไม่ใช่มอง HR เป็นเพียงตัวแทนนายจ้าง

.

มนุษยสัมพันธ์ดี

HR เป็นงานที่ต้องติดต่อกับคนทั้งองค์กร รวมถึงภายนอกองค์กรด้วย การมีมนุษยสัมพันธ์ดีจะทำให้เราทำงานง่ายขึ้น เมื่อมนุษยสัมพันธ์ดี ภาพลักษณ์ HR ทำตัวเป็นเจ้าของบริษัทก็จะหายไป เมื่อมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขด้วยการประณีประนอมได้

.

สื่อสารเป็นเลิศ

หน้าที่สำคัญอีกประการของชาว HR คือการประกาศ อัพเดทข่าวสาร แจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้คนในองค์กรทราบ แน่นอนว่าการสื่อสารจะมีคุณภาพนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก นั่นคือ ผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร หากผู้ส่งสาร (HR) สื่อสารได้ไม่ดีจนผู้รับสารเข้าใจผิด หากเป็นเรื่องร้ายแรง HR คงตกเป็นเป้าเตรียมเข้าห้องดำแน่นอน

.

หลายองค์กรมีเกณฑ์การประเมินพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ต่างกันไป ไม่ว่าจะ Hard Skills หรือ  Soft Skills แต่สำหรับ HR หลายคน การถูกยอมรับและถูกพูดถึงในทางที่ดีจากพนักงานในองค์กร คงเป็นความสำเร็จขั้นแรกของสายอาชีพนี้แล้วแหละค่ะ

.

Reference :

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/4-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-hr/

Related Content :

Leave your thoughts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr