Knowledge

Low-Code…เครื่องมือทุ่นแรงของเหล่า Developer

Low-Code…เครื่องมือทุ่นแรงของเหล่า Developer ในยุคที่ Programmer / Developer เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก มีเท่าไรก็ไม่เคยพอ แถมงานที่ต้องให้โปรแกรมเมอร์ทำก็ไม่เคยหมด เจ้า Low-Code นี่แหละ จะเป็นเครื่องมือทุ่นแรงช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้เร็วขึ้น รวมถึงยังเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้เรียนตรงสายมาเป็นนักพัฒนาง่ายขึ้นด้วย .  Low-Code คืออะไร? Low-Code Platform คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานง่ายขึ้น เร็วขึ้น เขียนโค้ดน้อยลง จากที่ต้องเขียนกันเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ บรรทัด หรือใช้เวลาเป็นชั่วโมง อาจเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาที คนเขียนโปรแกรมเองจะสามารถคุยกับผู้ใช้งานได้รู้เรื่องขึ้น อย่างไรก็ตาม การเขียน Low-Code ยังต้องการพื้นฐานการเขียนโปรแกรมอยู่ระดับหนึ่ง จึงเหมาะกับนักพัฒนาที่ต้องการเครื่องมือทุ่นแรง แต่หากคนที่ไม่มีพื้นฐานใด ๆ เลยอยากจะเรียนรู้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับการเริ่มเรียน High-Code แน่นอน . การคาดคะเนเชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Low-Code เช่น ภายในปี 2024 การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ Low-Code Platform จะมีมากถึง 65% 75% ขององค์กรใหญ่ ๆ จะใช้เครื่องมือ Low-Code Platform อย่างน้อย 4

Continue reading

Silicon Valley ชื่อนี้…มีอะไร?

Silicon Valley ชื่อนี้…มีอะไร? Silicon Valley ชื่อที่เราคุ้นหูและมักได้ยินจากภายพนต์ หรือบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี รวมถึงบริษัทแห่งดิจิทัล-นวัตกรรมยักษ์ใหญ่ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับชื่อนี้ แล้วมันมีอะไรที่ Silicon Valley ? . Silicon Valley หุบเขาแห่งเทคโนโลยี คนแรกที่บัญญัติคำว่า “Silicon Valley” คือ Don Hoefler เขาพูดถึงชื่อนี้ในบทความ “Silicon Valley USA” ในปี ค.ศ.1971 โดยมีที่มาจาก การผสมผสานระหว่างคำว่า “Silicon” เพราะเคยเป็นแหล่งพัฒนา Silicon Chip หรือ ชิ้นส่วนหน่วยความจำในระบบคอมพิวเตอร์ กับคำว่า “Valley” หรือ หุบเขา ที่มาจากหุบเขา Santa Clara Valley ในบริเวณนั้น โดยพื้นที่นี้อยู่ทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก (Silicon Vallry ไม่ใช่ชื่อเมืองนะ! แต่เป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เมืองรวมกัน) . Silicon Valley เป็นศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย เช่น

Continue reading

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้ ประกันสังคมคืออะไร ทำไมต้องจ่าย? จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง? เรื่องที่เด็กจบใหม่หลายคนอาจยังไม่รู้ (อย่าว่าแต่เด็กจบใหม่เลย ผู้ใหญ่บางคนก็ยังไม่รู้) 😂 . ประกันสังคม หรือ กองทุนประกันสังคม ช่องทางเลือกสำหรับสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตเพื่อสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต หรือแม้แต่การคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร รวมถึงเมื่อสมาชิกว่างงาน ก็จะสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ . คนทำงานประจำในบริษัทหลายคนรู้เพียงแค่ว่า บริษัทจะหักเงินเข้าประกันสังคมจากเงินเดือนของเราในทุก ๆ เดือน แต่รู้หรือไม่ว่า เงินที่เราจ่ายไป 750 บาทต่อเดือน เราได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง แล้วถ้าเราไม่ได้เป็นพนักงานประจำในบริษัท เราสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมได้หรือไม่? . กองทุนประกันสังคม แบ่งผู้ประกันตนได้ 3 ประเภท พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก (มาตรา 39) แรงงานนอกระบบ / อาชีพอิสระ (มาตรา 40) ผู้ประกันตนแต่ละประเภทมีอัตราการจ่ายเงินแตกต่างกัน และจะได้สิทธิ์และความคุ้มครองต่างกัน . ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่

Continue reading

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน ความฉลาด ใครเป็นคนนิยาม ความฉลาดคือต้องรู้หรือต้องเก่งอะไรจึงจะเรียกว่า ‘คนฉลาด’ เก่งคำนวณ? พูดได้หลายภาษา? หรือคะแนนทดสอบ IQ สูงกว่าคนทั่วไป คือ คนฉลาด? แปลว่าใครที่ไม่มีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นคือ ‘คนโง่’ อย่างนั้นหรือ โนวววววว จำกัดความคำว่า ฉลาด ไว้แค่นั้นไม่ได้นะคะ คนเก่งดนตรี ศิลปะ ทำอาหาร หรือทักษะอื่น ๆ ก็คือคนฉลาดค่ะ . ทฤษฏีนี้เป็นของ ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์ได้ให้ทฤษฎีพหุปัญญาว่าด้วยความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 9 ด้านด้วยกันค่ะ . 1. Logical-Mathematical Intelligence ฉลาดเรื่องตัวเลขและตรรกะ ความฉลาดตามมาตรฐานโรงเรียนทั่วไป ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุเป็นผล และมีทักษะการคำนวณ การแก้ปัญหา การมีความละเอียดรอบคอบ ผู้ที่มีความฉลาดด้านนนี้ เช่น นักบัญชี นักสถิติ

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2 บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้ . ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) . สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน ฯลฯ . สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ . สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1 PDPA เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยิน รู้หรือยังว่าคืออะไร จะบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว ถ้าไม่ศึกษาไว้แล้วทำผิดพลาด อาจติดคุกได้เลย! . PDPA คืออะไร ? . PDPA หรือ Personal Data Protection Act เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้ . ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มักเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยง่าย ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์ เช่น การสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Application แม้แต่การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (เห็นได้จากตอนที่เราติดตั้ง Application แล้วระบบของ Smartphone ขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของเราก่อนใช้งาน) รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคลลที่องค์กรได้จากการสมัครงานของผู้สมัคร โดยสิ่งที่ปรากฏในใบสมัครงานนั้นมักเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงบุคคลนั้นได้โดยง่าย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ . ดังนั้น จึงได้มีการสร้าง กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

Continue reading

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม?

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม? หลายครั้งที่เราได้ยินคนเรียก นักทดสอบระบบว่า Software Tester ในขณะที่ QA หรือ Quality Assurance ก็ทำหน้าที่ทดสอบระบบเหมือนกัน…แล้ว 2 ตำแหน่งนี้ทำงานเหมือนหรือต่างกันยังไง? . ในการเขียน Software (Web หรือ Application) ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งโดยทีม Programmer / Software Developer ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง จะต้องมีการ Test หรือทดสอบระบบของ Software นั้น ๆ เพื่อให้ระบบทำงานได้ตามที่นักพัฒนาต้องการหรือคาดหวังไว้ โดยผู้ที่ทำการทดสอบระบบ เราเรียกว่า Software Tester นั่นเอง แต่ในหลายองค์กร เราก็เรียก Tester ว่า QA หรือ Quality Assurance นอกจากความต้องการทดสอบให้ระบบรันไปตามที่ควรจะเป็นแล้ว Tester / QA ยังต้องคอยหาจุดบกพร่อง หรือ Bug ที่จะเกิดขึ้นระหว่างใช้งานระบบ รวมถึงต้องคอยติดตาม ทำการทดสอบซ้ำ

Continue reading

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร?

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร? โดยปกติแล้ว วันแรงงานแห่งชาติมักจะตรงกับวันทำงาน จันทร์-ศุกร์ พนักงานก็จะได้หยุดตามปกติ แต่ปีนี้วันแรงงานตรงกับวันอาทิตย์พอดี ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของใครหลาย ๆ คนอยู่แล้ว แล้วใครได้หยุด ใครต้องทำงาน ใครกำลังโดยนายจ้างเอาเปรียบ ไปอ่านกัน! . พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคมด้วย ส่วนอีก 12 วันเลือกจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือวันหยุดตามประเพณีท้องถิ่น . วันหยุดวันแรงงานแห่งชาติจะบังคับให้เป็นวันหยุดของ ลูกจ้าง แรงงาน และพนักงานบริษัทเอกชน รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี แต่หากเป็นธนาคารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าอาจเปิดทำการในบางแห่ง ส่วนข้าราชการ พนักงานในหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้หยุดในวันแรงงานแห่งชาติ แต่จะได้หยุดชดเชยอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 วันฉัตรมงคล และวันพืชมงคล (เอกชนจะไม่ได้หยุดในวันนี้) . ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

Continue reading

ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล ใครว่าไม่ต่าง…คุณใช้ถูกหรือยัง ?

ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล ใครว่าไม่ต่าง…คุณใช้ถูกหรือยัง ? ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล หลายคงคุ้นเคยกับคำว่า ประสิทธิภาพ มากกว่า แต่ก็คงเคยได้ยินคำว่า ประสิทธิผล มาด้วยเช่นกัน จริงแล้ว 2 คำนี้มีความหมายที่ต่างกันอยู่ บางคนเลือกใช้คำผิดบริบท ทำให้สื่อความหมายผิดได้เลยนะคะ ถามว่าต่างกันแค่ไหน ก็ต่างกันแบบไม่สามารถเอามาใช้แทนกันได้ เพราะมันเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกันอยู่ อาจดูเล็กน้อยแต่ใช้ผิดก็ความหมายเปลี่ยนได้เลย…แล้วที่หลาย ๆ คนเข้าใจอยู่นั้นถูกหรือยังนะ? . ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการทำงานให้เกิดผลจากการทำงาน  บรรลุเป้าหมายหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยเป็นไปตามสิ่งที่คาดหวัง เช่น เสร็จทันเวลา ประหยัดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร ผ่าน QC หรือ มีคุณภาพตามที่ระบุไว้ โดยผลที่เกิดขึ้นจะเป็นเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยหลักของ ประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย เวลา และ คุณภาพ . ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลลัพธ์ หรือ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานที่บรรลุเป้าหมายและได้คุณภาพตามที่ต้องการหรือคาดหวังไว้ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เป้าหมายที่ใช้วัด ประสิทธิผล

Continue reading

เมื่อ Gen Z กำลังครองตลาดแรงงาน องค์กรต้องรับมืออย่างไรให้ไปกันรอด

เมื่อ Gen Z กำลังครองตลาดแรงงาน องค์กรต้องรับมืออย่างไรให้ไปกันรอด… ยุคของ Gen Z เด็กรุ่นใหม่ ไฟแรง แซงทุกโค้ง กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  (และอาจเป็นส่วนใหญ่ในอนาคต)  องค์กรที่ยังคุ้นเคยกับการทำงานกันแบบเดิม ๆ ความคิดเดิม ๆ วิธีการเดิม ๆ อาจจะไม่ทันใจวัยรุ่น Gen Z สักเท่าไร แต่หากจะปฏิเสธไม่ร่วมงานกับเด็กรุ่นนี้ ก็คงไม่มีความคิดใหม่ ๆ ไอเดียเจ๋ง ๆ มาขับเคลื่อนองค์กร ทำให้ต้องย่ำอยู่กับที่เป็นแน่ แถมตลาดแรงงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็เต็มไปด้วยเด็กรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่าก็ตบเท้ารอเกษียณ แล้วองค์กรจะทำอย่างไร หากต้องปรับตัวเพื่อรองรับความไฟแรงของวัยรุ่น Gen Z ที่จะทำให้พวกเขาแสดงศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร โดยไม่ทำให้เหล่าผู้อาวุโสที่อยู่มาก่อนเกิด Culture Shock และองค์กรยังคงรักษาเด็ก ๆ Gen Z ให้ทำงานกันไปยาว ๆ ได้… . Gen Z คือ คำนิยามของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หมายถึงคนที่เกิดหลังจากปี ค.ศ. 1995 หรือปี พ.ศ.

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr