Knowledge

ลาคลอด ได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน

ลาคลอด ได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน ลาคลอด เป็นอีกหนึ่งสิทธิวันลาที่ลูกจ้างจะได้รับ โดยพนักงานที่ใช้สิทธิลาจะได้รับค่าจ้างในวันที่ลาด้วย . วันลาคลอด ไม่เท่ากับ ≠ วันลาป่วย เนื่องจากทางกฎหมาย ได้กำหนดสิทธิวันลาคลอดไว้ให้โดยเฉพาะอยู่แล้ว และให้จำนวนวันมากกว่าวันลาป่วย ดังนั้น หากใครจะลาคลอด ต้องใช้สิทธิ “วันลาคลอด” เท่านั้น จะใช้สิทธิวันลาป่วยไม่ได้ . ในเว็บไซต์ของสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่า “ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุด” และ พรบ.แรงงาน ก็ได้เพิ่มเติมมาอีก 8 วัน สำหรับการตรวจครรภ์ ดังนั้นจำนวนวันที่ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดได้ จากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน . นับเป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง พนักงานก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย) . วันลาคลอด นับอย่างไร? กฎหมายมาตรา 41

Continue reading

Talent Mapping คืออะไร

Talent Mapping คืออะไร Talent Mapping เทคนิคด้านทรัพยากรบุคคล สำหรับใช้ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์และแก้ปัญหาการสรรหาบุคลากรให้กับองค์กร . ขั้นตอนการทำ Talent Mapping ครอบคลุมทั้งการสำรวจ และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดแรงงาน ผู้สมัคร คู่แข่งในตลาด ฐานข้อมูลในองค์กร เทรนด์ที่กำลังนิยม หรือแม้แต่การสัมภาษณ์จากบุคลากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และพิจารณาควบคู่กับคุณสมบัติของผู้สมัครและตำแหน่งงานที่ต้องการสรรหาเพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการสรรหาพนักงานให้องค์กรหรือแก้ไขปัญหาด้านการสรรหาตามโจทย์ที่ตั้งไว้ . การทำ Talent Mapping จึงเป็นประโยชน์สำหรับองค์กรที่ต้องการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล การสร้างทีม หรือเปิดตลาดใหม่ เช่น กรณีที่องค์กรต้องการขยายธุรกิจหรือขยายการจ้างงานในตลาดใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน แน่นอนว่าองค์กรต้องการข้อมูลสนับสนุนเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ในการตัดสินใจด้านทรัพยากรบุคคล รวมถึงข้อมูลที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปัญหาด้านการสรรหาที่แก้ไม่ตกมาเป็นเวลานาน เช่น ปัญหาตำแหน่งงานที่ว่างอยู่เป็นเวลานาน ปัญหาการได้พนักงานที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งจนทำให้ Turnover Rate สูง หรือ ในกรณีที่องค์กรต้องการยกระดับการสรรหาให้มีคุณภาพมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มงานบางประเภทที่ประสบปัญหาในการหาคนมาร่วมทีมไม่ได้ หรือตำแหน่งที่เป็นที่ต้องการของตลาดสูง  Talent Mapping ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ . ประโยชน์ของการทำ Talent Mapping มีอะไรบ้าง? ได้ข้อมูลเชิงลึกจากตลาดแรงงาน ผู้สมัคร คู่แข่ง เพื่อใช้ในการวางกลยุทธ์ ด้านการสรรหา และการจัดการด้านบุคลากรในตำแหน่งงานหรือธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง เข้าใจภาพรวมตลาดแรงงานและสภาพแวดล้อมในการแข่งขันด้านการสรรหาในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน มีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ ทั้งการขยายการจ้างงานในตลาดใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน การสร้างทีมใหม่

Continue reading

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร เมื่อพูดถึงตำแหน่ง HR หรือ ฝ่ายบุคคลในองค์กร ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ากลายเป็นตำแหน่งที่จะถูกมองบน หรือไม่ก็เบ้ปากใส่ แล้วทำไม HR ถึงกลายเป็นตำแหน่งงานที่พนักงานไม่ชอบกันนะ . ถ้ามองจากหน้าที่ภาระงานหลักของตำแหน่งงานนี้ ก็คือ คนกลาง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รักษาผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายภายใต้กฎหมาย แต่ในบางองค์กรกลายเป็นว่า HR จ้องจะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจนเอาเปรียบพนักงานเกินไป (หารู้ไม่ HR ก็ถูกบีบมาเหมือนกัน) อีกหน้าที่คือดูแลความเรียบร้อยภายในองค์กรจนบางที่กลายเป็น HR จู้จี้จุกจิก พนักงานคนอื่น ๆ ก็พลอยไม่ชอบและร้องหยีใส่ . แต่!!! การที่พนักงานคนอื่นไม่ชอบฝ่าย HR อาจไม่ใช่เพราะหน้าที่ที่ HR ต้องทำก็ได้นะ บางคนอาจเข้าใจในหน้าที่ของ HR และไม่นำเรื่องนี้มาเป็นสาเหตุความไม่พอใจส่วนบุคคล แต่อาจเป็นเพราะการวางตัว การปฏิบัติตัว และนิสัยส่วนตัวของ HR คนนั้น ๆ ก็ได้ . แล้วทำอย่างไรถึงจะเป็น HR มืออาชีพ . ทำงานเหนือความคาดหวัง HR ไม่จำเป็นต้องอ่านใจพนักงานทุกคนออกหรอก แต่ถ้า HR สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ สร้างความประทับใจให้พนักงานได้ คงดีไม่น้อย 

Continue reading

เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น…จะบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างไร

เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น…จะบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างไร อัตรเงินเฟ้อทำให้อัตราค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น สินค้าจากต่างประเทศขึ้นราคาไม่หยุดหย่อน ทั้งน้ำมัน พลังงาน วัตถุดิบประกอบอาหาร หรือแม้แต่ไข่ไก่ ที่เป็นเมนูหลักของคนทั่วไป ก็ยังขึ้นราคา ทุกอย่างแพงขึ้น ในขณะที่เงินเดือนพนักงานเท่าเดิม…อะไรบ้างที่ผู้ประกอบการพอจะช่วยเหลือพนักงานผู้เป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญขององค์กรได้ . พนักงานหลายคนก็คงพยายามหาวิธีในการปรับตัวแล้ว แต่ก็ยังใช้เงินแบบเดือนชนเดือน เรียกได้ว่า หากเงินเดือนออกช้าไปเพียง  2 วัน อาจทำให้ใช้ชีวิตติดขัดได้เลย การบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานในช่วงค่าครองชีพสูงแบบนี้มีหลายวิธี แต่ละองค์กรต้องพิจารณาและวางแผนว่าวิธีใดเหมาะสมมากที่สุด . 1. ปรับฐานเงินเดือนพนักงาน การปรับฐานเงินเดือนพนักงานให้สูงขึ้น อาจต้องกำหนดว่า พนักงานกลุ่มไหนที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพสูงมากที่สุด ก็อาจจะปรับให้เฉพาะกลุ่มนั้นก่อน จากการสำรวจของบริษัท Think People Consulting ที่ปรึกษาด้านการบริหารค่าจ้างเงินเดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากที่สุดก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มพนักงานจบใหม่ ที่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท . วิธีนี้ทำได้ง่าย เราสามารถกำหนดอัตราปรับให้เท่ากันทุกคนก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ การเพิ่มต้นทุนคงที่ในเรื่องเงินเดือนพนักงานขององค์กร คงต้องพิจารณาว่า เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นให้นี้จะไปกระทบกับอะไรบ้าง เช่น เงินสมทบประกันสังคม สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การขึ้นเงินเดือนในปีถัดไป โบนัสตามผลงาน ฯลฯ . 2. เพิ่มเงินค่าครองชีพอีกก้อนหนึ่งแยกจากเงินเดือน เป็นอีกวิธีที่มีหลายบริษัททำกัน เราสามารถกำหนดเงินค่าครองชีพเพิ่มเติมให้กับพนักงาน โดยให้ทุกคนเท่ากัน และให้ประจำทุกเดือนไปเลย

Continue reading

จัดทำโครงสร้างเงินเดือนใหม่…เรื่องอะไรที่พนักงานกังวล ?

ทุกครั้งที่มีการพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือน มักจะมีพนักงานบางกลุ่มที่รู้สึกกลัวหรือกังวล เกี่ยวกับความไม่มั่นคง ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น . การปรับระบบโครงสร้างเงินเดือนมักมาพร้อมกับกระแสการต่อต้าน หรือเสียงบ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่บริษัทจะต้องรู้ถึงความกังวลของพนักงานว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย . 📌 กลัวเงินเดือนตัน หัวข้อนี้เป็นสิ่งที่พนักงานกลัวเป็นอันดับหนึ่งเลย เพราะถ้าเรานึกภาพของโครงสร้างเงินเดือน เราก็จะเห็นกรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งมีจุดต่ำสุด ค่ากลาง และจุดสูงสุด พนักงานก็มักจะกลัวว่าเงินเดือนของตนเองจะไปชนเพดานเงินเดือนซึ่งเรียกว่าเงินเดือนตันกระบอกนั่นเอง ในความเป็นจริง ถ้าพนักงานที่มีผลงานที่ดี มีฝีมือในการทำงานดี องค์กรย่อมต้องการพนักงานคนนี้ ซึ่งก็แปลว่า พนักงานคนนี้จะมีทางที่จะก้าวหน้าในบริษัทได้อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องของเงินเดือนตัน ก็ไม่น่าจะเกิดกับพนักงานที่เก่ง ๆ ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า พนักงานที่กลัวเงินเดือนตันก็คือพนักงานที่รู้ตัวว่าตนเองทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือนอยู่แล้ว ก็เลยกลัวว่าระบบจะเข้ามามีส่วนทำให้เขาได้ในสิ่งที่ไม่ควรจะได้น้อยลงไปอีก ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ระบบนี้น่าจะช่วยให้บริษัทได้ผลงานพนักงานและพนักงานเองก็จะต้องพัฒนาตนเองให้ทำงานได้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้ทำให้ตนเองเงินเดือนไม่ตันง่าย ๆ นั่นเอง . 📌 กลัวค่างานจะต่ำกว่าคนอื่น เวลาที่จะวางโครงสร้างเงินเดือนนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การประเมินค่างาน ซึ่งการประเมินค่างานนั้นจะเป็นการประเมินความยากง่ายของตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่อยู่ในองค์กร ซึ่งพนักงานเองก็จะกลัวว่า ตนเองจะถูกประเมินค่างานออกมาต่ำกว่าตำแหน่งงานอื่น ๆ . จริง ๆ แล้วการประเมินค่างานนั้นเป็นการประเมินที่ตำแหน่งงานโดยไม่ได้ดูตัวคนเลย และเวลาประเมินค่างานก็จะมีตำแหน่งที่ออกมาต่ำกว่าและสูงกว่าแน่นอนอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าถ้าเราถูกประเมินต่ำแล้วเราจะต่ำตลอดไป เพราะระบบนี้จะสร้างความก้าวหน้าทางสายอาชีพโดยเชื่อมกับค่างานได้ . 📌 กลัวจะถูกลดเงินเดือน ประเด็นนี้มีพนักงานหลายคนกลัวมาก เพราะคิดว่า

Continue reading

ใครควรบริหารค่าจ้างเงินเดือนในองค์กร ?

ใครควรบริหารค่าจ้างเงินเดือนในองค์กร ? ประเด็นการบริหารค่าจ้างเงินเดือนพนักงานของบริษัทว่าควรจะให้ ใคร บริหารค่าจ้างเงินเดือนระหว่าง ฝ่ายบุคคล หรือ ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ บริหารกันเอง . ซึ่งประเด็นสาเหตุของความขัดแย้งนี้โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากฝ่ายบุคคลและฝ่ายผู้จัดการหรือผู้บริหารสายงาน ต้องการว่าจ้างพนักงานใหม่และมีการพูดตกลงเงินเดือนกับทางพนักงานใหม่โดยไม่ผ่านการเห็นชอบ หรือการปรึกษากับทางฝ่ายบุคคล ไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้างเงินเดือนและอัตราเงินเดือนของพนักงานภายในองค์กรในปัจจุบัน ซึ่งผลของการทำแบบที่กล่าวมา ปัญหาก็คือ เมื่อพนักงานมาคุยกันเองก็รู้เงินเดือนของกันและกัน ปัญหาก็เลยเกิดขึ้นว่า ทำไมคนใหม่ที่เข้ามายังไม่รู้เรื่องอะไร ผลงานก็ยังไม่ได้สร้างเลย แต่ได้เงินเดือนสูงกว่าพนักงานเก่าที่ทำงานและสร้างผลงานมาก่อนอีก ซึ่งปัญหานี้มักจะถูกโยนไปที่ฝ่ายบุคคลทุกครั้งเมื่อมีคำถามแบบนี้ออกมา . การกำหนดเงินเดือนพนักงานด้วยตัวผู้จัดการฝ่าย หรือการที่ฝ่ายบุคคลยอมให้เงินเดือนนั้นๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอาจเกิดปัญหาตามมาในสายงาน ต่างถือเป็นเรื่องที่ผิดทั้งสองฝ่าย แต่ส่วนใหญ่ฝ่ายบุคคลมักจะขัดไม่ได้เนื่องจากหัวหน้าหรือผู้จัดการมักจะข้ามไปคุยกับในระดับผู้บริหารในการตัดสินใจโอยไม่ผ่านฝ่ายบุคคล ปัญหาเรื่องการบริหารค่าจ้างเงินเดือนในกรณีแบบนี้ ไม่ควรจะเกิดขึ้นในองค์กรเพราะทำให้เกิดความระส่ำระส่ายของพนักงาน พนักงานเองจะรู้สึกว่าบริษัทไม่เป็นธรรมในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ดังนั้นถ้าจะให้ดี เรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น ควรจะบริหารดังต่อไปนี้ . • ฝ่ายบุคคลเป็นผู้กำหนดอัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษา และกำหนดอัตราโครงสร้างเงินเดือนของบริษัททั้งหมดในภาพรวม โดยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้อนุมัติให้ใช้ เมื่อมีโครงสร้างเงินเดือนแล้ว จะต้องบริหารตามโครงสร้างที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด . • ผู้จัดการตามสายงานจะไม่มีอำนาจในการกำหนดอัตราเงินเดือนให้พนักงานด้วยตนเอง ถ้าสัมภาษณ์แล้วชอบใจผู้สมัคร อาจจะพูดคุยเรื่องของอัตราเงินเดือนได้ แต่สุดท้ายจะให้เท่าไหร่นั้น จะต้องให้ฝ่ายบุคคลเป็นผู้พิจารณากำหนดอัตรา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับคนในด้วย ประเภทคนใหม่ได้รับเงินเดือนมากกว่าคนเก่าที่มีฝีมือดีๆ . • ผู้บริหารระดับสูงสุดเองก็ต้องเดินตามนโยบายที่ตนเป็นผู้อนุมัติเอง ไม่ใช่พอผู้จัดการฝ่ายเข้ามาขอให้ให้เงินเดือนตามที่เขาขอ โดยข้ามฝ่ายบุคคล แล้วผู้บริหารก็ตัดสินใจเลย แบบนี้จะสร้างปัญหามากกว่า

Continue reading

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบริหารค่าตอบแทน

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบริหารค่าตอบแทน . การบริหารค่าตอบแทน ถือเป็นส่วนงานที่สำคัญขององค์กร เพราะนอกจากเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้พนักงานทำงานกับองค์กรแล้ว ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีด้วย การบริหารค่าตอบแทนที่ดี มีองค์ประกอบหลายอย่างที่มาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่างาน ระดับงาน การหาข้อมูลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน การกำหนดโครงสร้างเงินเดือน และการบริหารการขึ้นเงินดือนอย่างเป็นธรรม รวมไปถึงการบริหารการเลื่อนตำแหน่ง และการปรับค่าจ้างในกรณีต่างๆ . องค์กรประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ มีหลายเรื่องที่มีคนเข้าใจผิดอยู่บ้าง . คนเก่งต้องมีค่างานสูง คนไม่เก่งมีค่างานต่ำ เรื่องของค่างานนั้นเป็นการประเมินที่ตำแหน่งงานไม่ใช่ประเมินกันที่คนทำงาน เมื่อไหร่ที่ประเมินคนทำงานว่า ดี หรือ ไม่ดี เก่ง หรือ ไม่เก่งนั้น จะเป็นเรื่องของการประเมินผลงานมากกว่า ดังนั้นความเข้าใจที่ถูกต้องก็คือ การประเมินค่างานจะต้องพิจารณาจากตัวเนื้องานเพียงอยากเดียว ไม่มีการนำเอา คน เข้ามาพิจารณาแต่อย่างใด . คะแนนค่างานที่ประเมินออกมาเอาไปเข้าสมการแล้วออกมาเป็นเงินเดือนได้ทันที เรื่องนี้อีกเรื่องหนึ่งที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิด ว่าคะแนนค่างานนั้นสามารถเข้าสูตรสมการสองหน้าหลังบวกหลังกำลังสองแล้วจะออกมาเป็นตัวเลขเงินเดือนได้ทันที ซึ่งไม่ใช่เลย ค่างานเป็นเพียงการจัดลำดับความยากงานของงานภายในองค์กรของเราเองเท่านั้น คะแนนก็แค่เป็นตัวช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าตำแหน่งไหนจะยากกว่าตำแหน่งไหนเท่านั้นเอง ไม่สามารถแปลงออกมาเป็นตัวเงินเดือนได้ . ข้อมูลในรายงานการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนที่ได้มา เอาไปใช้กำหนดเงินเดือนได้เลย อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง หลายคนเปิดรายงานการสำรวจค่าจ้างแล้วก็หยิบเอาตัวเลขเงินเดือนในรายงานนั้นมากำหนดเงินเดือนให้กับพนักงานที่เพิ่งรับเข้ามา จริง ๆ แล้วข้อมูลในรายงานผลการสำรวจค่าจ้างนั้นเป็นเพียงค่าแนวโน้มของตลาดเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่เก็บมาในแต่ละปีก็แตกต่างกันออกไป จำนวนบริษัทที่เข้าร่วมก็ไม่เหมือนกันในแต่ละปี ดังนั้นตัวเลขที่ปรากฎจึงไม่ควรนำไปใช้แบบตรง ๆ จะต้องมีวิธีการทางสถิติเพื่อทำให้ข้อมูลในรายงานกลายเป็นตัวเลขที่เราสามารถใช้ได้จริงๆ

Continue reading

อย่าลืม ! บริหารโครงสร้างเงินเดือนให้ดี

อย่าลืมบริหารโครงสร้างเงินเดือนให้ดี…!! . ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มที่จะควบคุมได้ และเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มที่จะกลับเข้าสู่ภาวะการแข่งขันกันมากขึ้น ผู้บริหารก็เริ่มหันกลับมาใส่ใจในเรื่องของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น HRM หรือ HRD โดยเฉพาะในเรื่องของ HRM ในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น กลายเป็นหัวข้ออันดับแรก ๆ ที่องค์กร และผู้นำต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมองเห็นแล้วว่า ถ้าระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทเราไม่สามารถที่จะแข่งขันกับตลาดได้ ก็จะทำให้เราไม่ได้บุคลากรที่มีคุณภาพในแบบที่เราต้องการ เข้ามาร่วมทำงานกับเราอย่างแน่นอน . การปรับปรุงโดยนำเรื่องโครงสร้างเงินเดือน และระบบบริหารเงินเดือนมาปัดฝุ่นกันอย่างมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่คำถามก็คือ “บางองค์กรที่เคยมีระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนที่ดีอยู่แล้ว กลับต้องมาเริ่มทำกันใหม่ตั้งแต่ต้น ทำไมไม่สามารถต่อยอดจากของเดิมที่มีอยู่ได้เลย ?”  คำตอบก็คือ ไม่เคยดูแลบริหารจัดการระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนที่ทำไว้เลย ทำเสร็จก็คิดว่าจะสามารถใช้ได้ไปตลอด ซึ่งในความเป็นจริงนั้น มันไม่ใช่ ทุกระบบในงาน HR จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแล และการบริหารจัดการปรับปรุงอยู่ตลอดเพื่อให้ยังคงสามารถใช้งานได้ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป . ดังนั้น เมื่อเราปรับปรุงระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือนเรียบร้อยแล้ว มีโครงสร้างเงินเดือนใหม่แล้ว อย่าลืมบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างดี และทันกับการแข่งขันของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว . โครงสร้างเงินเดือนจะต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ บริษัทที่มีการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำโครงสร้างเงินเดือน พอทำเสร็จแล้ว บริษัทนั้นก็ใช้โครงสร้างเงินเดือนที่ที่ปรึกษาทำไว้อย่างยาวนานมาก บางบริษัทใช้ถึง 10 ปีโดยที่ไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันเลย คำถามก็คือ ตัวเลขเมื่อสิบปีที่แล้ว จะใช้กับปัจจุบันได้จริง

Continue reading

ReSkill ด้วยกฎ 3x3x3

ReSkill ด้วยกฎ 3x3x3 ในยุคของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การ Reskill ปรับทักษะของเราให้ทันโลกอยู่เสมอถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองนั้นไม่ยากเท่าเรื่องราวระหว่างทาง กฎ 3x3x3 จะช่วยให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นได้ . กฎ 3x3x3 คืออะไร ? บทความเรื่อง Intentional learning จาก Mckinsey บริษัทให้คำปรึกษาชื่อดัง ได้รวบรวมข้อมูลคำแนะนำต่าง ๆ มาสร้างเป็นเทคนิค 3x3x3 ที่ทำได้ง่ายและใช้ได้จริง และไม่เพียงแต่นำกฎนี้ไปใช้ในการ Reskill เท่านั้น การ Upskill หาทักษะใหม่ ๆ มาเพิ่มก็นำกฎนี้ไปใช้ได้เช่นกัน . 3 เป้าหมาย คนเราเวลาอยากจะตั้งเป้าหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักจะมุ่งไปแค่เรื่องเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นความคิดที่ถูกต้องเพราะสมองของเราถูกสร้างขึ้นมาให้โฟกัสเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเรื่อง ๆ ไป การโฟกัสหรือตั้งเป้าหมายอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน นอกจากอาจจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายแล้ว ยังอาจนำพาเป้าหมายอื่น ๆ สำเร็จช้าลงด้วย . แต่โดยส่วนมาก เป้าหมายในชีวิตคนเรานั้นมีมากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว การจำกัดเป้าหมายไว้เพียงแค่ 1 นอกจากจะเป็นการกดดันตัวเองมากเกินไป อาจทำให้เราพลาดโอกาสเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ

Continue reading

Multitasking…ระวัง !!! สมองพังไม่รู้ตัว

Multitasking…ระวัง !!! สมองพังไม่รู้ตัว ‘Multitasking’ คำที่หลายคนคุ้ยเคย หนึ่งในทักษะสำคัญที่องค์กรคาดหวัง และมักปรากฏในประกาศงาน เพื่อให้ผู้สมัครประเมินตัวเองว่า “คุณสามารถทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกันหรือไม่” . Multitasking คือ ความสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน หรือทำไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุกอย่างแข่งขันกับเวลา การจ้างงานบุคลากรหลายตำแหน่งในหลายหน้าที่ อาจไม่ตอบโจทย์การบริหารทรัพยากรบุคคลในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ทักษะนี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในความคาดหวังที่องค์กรต้องการจากตัวบุคลากร . อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบ Multitasking Skill อาจไม่ช่วยให้องค์กรพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นตามที่หวังไว้ แต่อาจกลายเป็นเพิ่มงบประมาณและเพิ่มภาระให้กับองค์กรได้ . บางคนทำงานแบบ Multitasking ได้ดี อาจเพราะเกิดจากความชำนาญส่วนตัว บางคนทีระบบจัดการความคิดที่ดี สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ และมีการประมวลผลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามาถทำงานหลายอย่างไปพร้อม ๆ กันได้จนสำเร็จ และสำเร็จอย่างดีด้วย เพราะบางคนทำงานหลายอย่างให้เสร็จพร้อมกันได้ แต่งานที่ออกมาใช้ไม่ได้เลย…ก็มี . Multitasking ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะสมองของมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ประมวลผลอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ต่างกับคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประมวลผลจากข้อมูลจำนวนมาก และทำได้ในเวลาเดียวกัน สมองของมนุษย์รองรับการโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อเราทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ประสิทธิภาพการทำงานของสมองจะลดลง อาจจะเกิดอาการ มึน

Continue reading

Low-Code…เครื่องมือทุ่นแรงของเหล่า Developer

Low-Code…เครื่องมือทุ่นแรงของเหล่า Developer ในยุคที่ Programmer / Developer เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก มีเท่าไรก็ไม่เคยพอ แถมงานที่ต้องให้โปรแกรมเมอร์ทำก็ไม่เคยหมด เจ้า Low-Code นี่แหละ จะเป็นเครื่องมือทุ่นแรงช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้เร็วขึ้น รวมถึงยังเปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้เรียนตรงสายมาเป็นนักพัฒนาง่ายขึ้นด้วย .  Low-Code คืออะไร? Low-Code Platform คือ เครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานง่ายขึ้น เร็วขึ้น เขียนโค้ดน้อยลง จากที่ต้องเขียนกันเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ บรรทัด หรือใช้เวลาเป็นชั่วโมง อาจเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาที คนเขียนโปรแกรมเองจะสามารถคุยกับผู้ใช้งานได้รู้เรื่องขึ้น อย่างไรก็ตาม การเขียน Low-Code ยังต้องการพื้นฐานการเขียนโปรแกรมอยู่ระดับหนึ่ง จึงเหมาะกับนักพัฒนาที่ต้องการเครื่องมือทุ่นแรง แต่หากคนที่ไม่มีพื้นฐานใด ๆ เลยอยากจะเรียนรู้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับการเริ่มเรียน High-Code แน่นอน . การคาดคะเนเชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Low-Code เช่น ภายในปี 2024 การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้ Low-Code Platform จะมีมากถึง 65% 75% ขององค์กรใหญ่ ๆ จะใช้เครื่องมือ Low-Code Platform อย่างน้อย 4

Continue reading

Silicon Valley ชื่อนี้…มีอะไร?

Silicon Valley ชื่อนี้…มีอะไร? Silicon Valley ชื่อที่เราคุ้นหูและมักได้ยินจากภายพนต์ หรือบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี รวมถึงบริษัทแห่งดิจิทัล-นวัตกรรมยักษ์ใหญ่ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับชื่อนี้ แล้วมันมีอะไรที่ Silicon Valley ? . Silicon Valley หุบเขาแห่งเทคโนโลยี คนแรกที่บัญญัติคำว่า “Silicon Valley” คือ Don Hoefler เขาพูดถึงชื่อนี้ในบทความ “Silicon Valley USA” ในปี ค.ศ.1971 โดยมีที่มาจาก การผสมผสานระหว่างคำว่า “Silicon” เพราะเคยเป็นแหล่งพัฒนา Silicon Chip หรือ ชิ้นส่วนหน่วยความจำในระบบคอมพิวเตอร์ กับคำว่า “Valley” หรือ หุบเขา ที่มาจากหุบเขา Santa Clara Valley ในบริเวณนั้น โดยพื้นที่นี้อยู่ทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก (Silicon Vallry ไม่ใช่ชื่อเมืองนะ! แต่เป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เมืองรวมกัน) . Silicon Valley เป็นศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย เช่น

Continue reading

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้ ประกันสังคมคืออะไร ทำไมต้องจ่าย? จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง? เรื่องที่เด็กจบใหม่หลายคนอาจยังไม่รู้ (อย่าว่าแต่เด็กจบใหม่เลย ผู้ใหญ่บางคนก็ยังไม่รู้) 😂 . ประกันสังคม หรือ กองทุนประกันสังคม ช่องทางเลือกสำหรับสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตเพื่อสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต หรือแม้แต่การคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร รวมถึงเมื่อสมาชิกว่างงาน ก็จะสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ . คนทำงานประจำในบริษัทหลายคนรู้เพียงแค่ว่า บริษัทจะหักเงินเข้าประกันสังคมจากเงินเดือนของเราในทุก ๆ เดือน แต่รู้หรือไม่ว่า เงินที่เราจ่ายไป 750 บาทต่อเดือน เราได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง แล้วถ้าเราไม่ได้เป็นพนักงานประจำในบริษัท เราสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมได้หรือไม่? . กองทุนประกันสังคม แบ่งผู้ประกันตนได้ 3 ประเภท พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก (มาตรา 39) แรงงานนอกระบบ / อาชีพอิสระ (มาตรา 40) ผู้ประกันตนแต่ละประเภทมีอัตราการจ่ายเงินแตกต่างกัน และจะได้สิทธิ์และความคุ้มครองต่างกัน . ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่

Continue reading

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน ความฉลาด ใครเป็นคนนิยาม ความฉลาดคือต้องรู้หรือต้องเก่งอะไรจึงจะเรียกว่า ‘คนฉลาด’ เก่งคำนวณ? พูดได้หลายภาษา? หรือคะแนนทดสอบ IQ สูงกว่าคนทั่วไป คือ คนฉลาด? แปลว่าใครที่ไม่มีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นคือ ‘คนโง่’ อย่างนั้นหรือ โนวววววว จำกัดความคำว่า ฉลาด ไว้แค่นั้นไม่ได้นะคะ คนเก่งดนตรี ศิลปะ ทำอาหาร หรือทักษะอื่น ๆ ก็คือคนฉลาดค่ะ . ทฤษฏีนี้เป็นของ ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์ได้ให้ทฤษฎีพหุปัญญาว่าด้วยความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 9 ด้านด้วยกันค่ะ . 1. Logical-Mathematical Intelligence ฉลาดเรื่องตัวเลขและตรรกะ ความฉลาดตามมาตรฐานโรงเรียนทั่วไป ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุเป็นผล และมีทักษะการคำนวณ การแก้ปัญหา การมีความละเอียดรอบคอบ ผู้ที่มีความฉลาดด้านนนี้ เช่น นักบัญชี นักสถิติ

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2 บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้ . ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) . สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน ฯลฯ . สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ . สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1 PDPA เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยิน รู้หรือยังว่าคืออะไร จะบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว ถ้าไม่ศึกษาไว้แล้วทำผิดพลาด อาจติดคุกได้เลย! . PDPA คืออะไร ? . PDPA หรือ Personal Data Protection Act เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้ . ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มักเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยง่าย ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์ เช่น การสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Application แม้แต่การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (เห็นได้จากตอนที่เราติดตั้ง Application แล้วระบบของ Smartphone ขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของเราก่อนใช้งาน) รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคลลที่องค์กรได้จากการสมัครงานของผู้สมัคร โดยสิ่งที่ปรากฏในใบสมัครงานนั้นมักเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงบุคคลนั้นได้โดยง่าย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ . ดังนั้น จึงได้มีการสร้าง กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

Continue reading

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม?

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม? หลายครั้งที่เราได้ยินคนเรียก นักทดสอบระบบว่า Software Tester ในขณะที่ QA หรือ Quality Assurance ก็ทำหน้าที่ทดสอบระบบเหมือนกัน…แล้ว 2 ตำแหน่งนี้ทำงานเหมือนหรือต่างกันยังไง? . ในการเขียน Software (Web หรือ Application) ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งโดยทีม Programmer / Software Developer ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง จะต้องมีการ Test หรือทดสอบระบบของ Software นั้น ๆ เพื่อให้ระบบทำงานได้ตามที่นักพัฒนาต้องการหรือคาดหวังไว้ โดยผู้ที่ทำการทดสอบระบบ เราเรียกว่า Software Tester นั่นเอง แต่ในหลายองค์กร เราก็เรียก Tester ว่า QA หรือ Quality Assurance นอกจากความต้องการทดสอบให้ระบบรันไปตามที่ควรจะเป็นแล้ว Tester / QA ยังต้องคอยหาจุดบกพร่อง หรือ Bug ที่จะเกิดขึ้นระหว่างใช้งานระบบ รวมถึงต้องคอยติดตาม ทำการทดสอบซ้ำ

Continue reading

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร?

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร? โดยปกติแล้ว วันแรงงานแห่งชาติมักจะตรงกับวันทำงาน จันทร์-ศุกร์ พนักงานก็จะได้หยุดตามปกติ แต่ปีนี้วันแรงงานตรงกับวันอาทิตย์พอดี ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของใครหลาย ๆ คนอยู่แล้ว แล้วใครได้หยุด ใครต้องทำงาน ใครกำลังโดยนายจ้างเอาเปรียบ ไปอ่านกัน! . พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคมด้วย ส่วนอีก 12 วันเลือกจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือวันหยุดตามประเพณีท้องถิ่น . วันหยุดวันแรงงานแห่งชาติจะบังคับให้เป็นวันหยุดของ ลูกจ้าง แรงงาน และพนักงานบริษัทเอกชน รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี แต่หากเป็นธนาคารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าอาจเปิดทำการในบางแห่ง ส่วนข้าราชการ พนักงานในหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้หยุดในวันแรงงานแห่งชาติ แต่จะได้หยุดชดเชยอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 วันฉัตรมงคล และวันพืชมงคล (เอกชนจะไม่ได้หยุดในวันนี้) . ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

Continue reading

ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล ใครว่าไม่ต่าง…คุณใช้ถูกหรือยัง ?

ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล ใครว่าไม่ต่าง…คุณใช้ถูกหรือยัง ? ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล หลายคงคุ้นเคยกับคำว่า ประสิทธิภาพ มากกว่า แต่ก็คงเคยได้ยินคำว่า ประสิทธิผล มาด้วยเช่นกัน จริงแล้ว 2 คำนี้มีความหมายที่ต่างกันอยู่ บางคนเลือกใช้คำผิดบริบท ทำให้สื่อความหมายผิดได้เลยนะคะ ถามว่าต่างกันแค่ไหน ก็ต่างกันแบบไม่สามารถเอามาใช้แทนกันได้ เพราะมันเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกันอยู่ อาจดูเล็กน้อยแต่ใช้ผิดก็ความหมายเปลี่ยนได้เลย…แล้วที่หลาย ๆ คนเข้าใจอยู่นั้นถูกหรือยังนะ? . ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการทำงานให้เกิดผลจากการทำงาน  บรรลุเป้าหมายหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยเป็นไปตามสิ่งที่คาดหวัง เช่น เสร็จทันเวลา ประหยัดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร ผ่าน QC หรือ มีคุณภาพตามที่ระบุไว้ โดยผลที่เกิดขึ้นจะเป็นเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยหลักของ ประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย เวลา และ คุณภาพ . ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลลัพธ์ หรือ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานที่บรรลุเป้าหมายและได้คุณภาพตามที่ต้องการหรือคาดหวังไว้ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เป้าหมายที่ใช้วัด ประสิทธิผล

Continue reading

เมื่อ Gen Z กำลังครองตลาดแรงงาน องค์กรต้องรับมืออย่างไรให้ไปกันรอด

เมื่อ Gen Z กำลังครองตลาดแรงงาน องค์กรต้องรับมืออย่างไรให้ไปกันรอด… ยุคของ Gen Z เด็กรุ่นใหม่ ไฟแรง แซงทุกโค้ง กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  (และอาจเป็นส่วนใหญ่ในอนาคต)  องค์กรที่ยังคุ้นเคยกับการทำงานกันแบบเดิม ๆ ความคิดเดิม ๆ วิธีการเดิม ๆ อาจจะไม่ทันใจวัยรุ่น Gen Z สักเท่าไร แต่หากจะปฏิเสธไม่ร่วมงานกับเด็กรุ่นนี้ ก็คงไม่มีความคิดใหม่ ๆ ไอเดียเจ๋ง ๆ มาขับเคลื่อนองค์กร ทำให้ต้องย่ำอยู่กับที่เป็นแน่ แถมตลาดแรงงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็เต็มไปด้วยเด็กรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่าก็ตบเท้ารอเกษียณ แล้วองค์กรจะทำอย่างไร หากต้องปรับตัวเพื่อรองรับความไฟแรงของวัยรุ่น Gen Z ที่จะทำให้พวกเขาแสดงศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร โดยไม่ทำให้เหล่าผู้อาวุโสที่อยู่มาก่อนเกิด Culture Shock และองค์กรยังคงรักษาเด็ก ๆ Gen Z ให้ทำงานกันไปยาว ๆ ได้… . Gen Z คือ คำนิยามของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หมายถึงคนที่เกิดหลังจากปี ค.ศ. 1995 หรือปี พ.ศ.

Continue reading

Categories

Recent Posts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2025 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr