นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร?
โดยปกติแล้ว วันแรงงานแห่งชาติมักจะตรงกับวันทำงาน จันทร์-ศุกร์ พนักงานก็จะได้หยุดตามปกติ แต่ปีนี้วันแรงงานตรงกับวันอาทิตย์พอดี ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของใครหลาย ๆ คนอยู่แล้ว แล้วใครได้หยุด ใครต้องทำงาน ใครกำลังโดยนายจ้างเอาเปรียบ ไปอ่านกัน!
.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคมด้วย ส่วนอีก 12 วันเลือกจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือวันหยุดตามประเพณีท้องถิ่น
.
วันหยุดวันแรงงานแห่งชาติจะบังคับให้เป็นวันหยุดของ ลูกจ้าง แรงงาน และพนักงานบริษัทเอกชน รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี แต่หากเป็นธนาคารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าอาจเปิดทำการในบางแห่ง ส่วนข้าราชการ พนักงานในหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้หยุดในวันแรงงานแห่งชาติ แต่จะได้หยุดชดเชยอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 วันฉัตรมงคล และวันพืชมงคล (เอกชนจะไม่ได้หยุดในวันนี้)
.
ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ถ้าต้องการให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันหยุดแรงงานแห่งชาตินั้น จะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างปกติ และหากต้องทำงานล่วงเวลา หรือ OT ต้องได้ค่าล่วงเวลา 3 เท่า (จาก OT วันทำงานปกติจ่ายที่ 1.5 เท่า) แม้แต่การปฏิบัติงานในวันหยุดชดเชยของวันแรงงาน
.
วันแรงงานแห่งชาติของปี พ.ศ. 2565 ตรงกับวันอาทิตย์ หากวันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างอยู่แล้ว ต้องได้รับการชดเชยวันหยุดให้ในวันจันทร์ที่ 2 หากนายจ้างบังคับให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันนี้ ต้องได้รับค่าจ้างเพิ่ม 1 เท่า OT 3 เท่า เพราะถือเป็นวันหยุด แต่หากวันแรงงานแห่งชาติตรงกับวันปฏิบัติงานของลูกจ้าง ก็จะต้องได้หยุดตรงตามวัน ไม่มีชดเชย
.
ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานนายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดทำงานในวันแรงงานต้องโดนอะไรบ้าง?
นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายมีโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1546
.
References :
https://www.thairath.co.th/news/society/1557901
https://www.bangkokbiznews.com/social/1001970
http://loei.labour.go.th/2018/index.php/2017-03-23-03-21-39/23-2017-04-24-09-08-54
Related Content :