ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2
บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้
.
ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right)
.
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น
- ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง
- วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ
- นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง
- เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน
- ฯลฯ
.
สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ
.
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม นำไปใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่า หรือขัดต่อสิทธิการเรียกร้องตามกฎหมาย หรือผู้รวบรวมนำข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถิติ
หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลถูกขอให้ลบหรือทำลาย หรือผู้ควบคุมทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลเจ้าของได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องผู้รับผิดชอบดำเนินการทั้งในทางเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายเอง
หากเจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมในการใช้ข้อมูล แต่ภายหลังต้องการยกเลิกความยินยอมนั้น ก็สามารถทำได้ตลอด และการยกเลิกความยินยอมนั้นจะต้องทำได้โดยง่ายโดยการยกเลิกจะต้องไม่ขัดต่อข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมทางกฎหมาย หรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไปก่อนหน้านี้
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย เพราะมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลไปใช้ในทางกฎหมาย หรือการเรียกร้องสิทธิ
เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย
ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูลนั้น ส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้ หรือจะขอให้ส่งไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่นโดยตรงก็สามารถทำได้ หากไม่ติดขัดทางวิธีการและเทคนิค โดยการใช้สิทธินั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
.
บทลงโทษ
กรณีกระทำความผิด พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- บทลงโทษทางแพ่ง มีการทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เช่น เสียหายทางร่างกาย เสียหายทางชื่อเสียง เสียหายทางสิทธิของบุคคลนั้นๆ เป็นต้น ผู้กระทำความผิดจึงจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย/ค่าสินไหม เป็นจำนวนเงิน
– ในกรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิด องค์กรหรือหน่วยงานอาจจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ ขึ้นอยู่กับศาลจะพิจารณา - บทลงโทษทางอาญา เกิดจากมีการกระทำหรือมีความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม หรือเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชนและส่วนรวม ซึ่งการลงโทษผู้กระทำความผิดประเภทนี้ โดยโทษทางอาญามี 5 อย่างคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
– บทลงโทษทางอาญา มีทั้งโทษจำคุก และ โทษปรับ ในกรณีโทษจำคุก ถ้าองค์กรหรือหน่วยงานของท่านมีการกระทำผิด พ.ร.บ. นั้น ผู้ที่จะได้รับโทษอาจจะเป็น ผู้บริหาร กรรมการ หรือเจ้าของบริษัทหรือหน่วยงานนั้นๆ อัตราโทษสูงสุด จำคุก 1ปี หรือ ปรับเป็นเงิน 1 ล้านบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ - โทษทางปกครอง เกิดจากการกระทำความผิดที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องกระทำ แต่ยังไม่ร้ายแรงถึงระดับความผิดทางอาญาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและส่วนรวม
– บทลงโทษทางปกครองของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือโทษปรับเป็นจำนวนเงิน สูงสุดถึง 5 ล้านบาท โทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งและโทษปรับทางอาญา
ในส่วนของ PDPA ได้มีการกำหนดบทลงโทษเอาไว้ทั้ง 3 ประเภทเลยและสามารถรับบทลงโทษทั้ง 3 ประเภทพร้อมกัน
.
ไขข้อข้องใจ ทำแบบนี้ ผิด PDPA หรือไม่?
การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยบุคคลนั้นไม่ยินยอมจะผิด PDPA หรือไม่?