Post Archive by Month: September,2022

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร

HR แบบไหน โดนใจคนในองค์กร เมื่อพูดถึงตำแหน่ง HR หรือ ฝ่ายบุคคลในองค์กร ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ากลายเป็นตำแหน่งที่จะถูกมองบน หรือไม่ก็เบ้ปากใส่ แล้วทำไม HR ถึงกลายเป็นตำแหน่งงานที่พนักงานไม่ชอบกันนะ . ถ้ามองจากหน้าที่ภาระงานหลักของตำแหน่งงานนี้ ก็คือ คนกลาง ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รักษาผลประโยชน์ให้ทั้งสองฝ่ายภายใต้กฎหมาย แต่ในบางองค์กรกลายเป็นว่า HR จ้องจะรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจนเอาเปรียบพนักงานเกินไป (หารู้ไม่ HR ก็ถูกบีบมาเหมือนกัน) อีกหน้าที่คือดูแลความเรียบร้อยภายในองค์กรจนบางที่กลายเป็น HR จู้จี้จุกจิก พนักงานคนอื่น ๆ ก็พลอยไม่ชอบและร้องหยีใส่ . แต่!!! การที่พนักงานคนอื่นไม่ชอบฝ่าย HR อาจไม่ใช่เพราะหน้าที่ที่ HR ต้องทำก็ได้นะ บางคนอาจเข้าใจในหน้าที่ของ HR และไม่นำเรื่องนี้มาเป็นสาเหตุความไม่พอใจส่วนบุคคล แต่อาจเป็นเพราะการวางตัว การปฏิบัติตัว และนิสัยส่วนตัวของ HR คนนั้น ๆ ก็ได้ . แล้วทำอย่างไรถึงจะเป็น HR มืออาชีพ . ทำงานเหนือความคาดหวัง HR ไม่จำเป็นต้องอ่านใจพนักงานทุกคนออกหรอก แต่ถ้า HR สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ สร้างความประทับใจให้พนักงานได้ คงดีไม่น้อย 

Continue reading

เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น…จะบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างไร

เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น…จะบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างไร อัตรเงินเฟ้อทำให้อัตราค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น สินค้าจากต่างประเทศขึ้นราคาไม่หยุดหย่อน ทั้งน้ำมัน พลังงาน วัตถุดิบประกอบอาหาร หรือแม้แต่ไข่ไก่ ที่เป็นเมนูหลักของคนทั่วไป ก็ยังขึ้นราคา ทุกอย่างแพงขึ้น ในขณะที่เงินเดือนพนักงานเท่าเดิม…อะไรบ้างที่ผู้ประกอบการพอจะช่วยเหลือพนักงานผู้เป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญขององค์กรได้ . พนักงานหลายคนก็คงพยายามหาวิธีในการปรับตัวแล้ว แต่ก็ยังใช้เงินแบบเดือนชนเดือน เรียกได้ว่า หากเงินเดือนออกช้าไปเพียง  2 วัน อาจทำให้ใช้ชีวิตติดขัดได้เลย การบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานในช่วงค่าครองชีพสูงแบบนี้มีหลายวิธี แต่ละองค์กรต้องพิจารณาและวางแผนว่าวิธีใดเหมาะสมมากที่สุด . 1. ปรับฐานเงินเดือนพนักงาน การปรับฐานเงินเดือนพนักงานให้สูงขึ้น อาจต้องกำหนดว่า พนักงานกลุ่มไหนที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพสูงมากที่สุด ก็อาจจะปรับให้เฉพาะกลุ่มนั้นก่อน จากการสำรวจของบริษัท Think People Consulting ที่ปรึกษาด้านการบริหารค่าจ้างเงินเดือน พบว่า กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นมากที่สุดก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และกลุ่มพนักงานจบใหม่ ที่เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท . วิธีนี้ทำได้ง่าย เราสามารถกำหนดอัตราปรับให้เท่ากันทุกคนก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ การเพิ่มต้นทุนคงที่ในเรื่องเงินเดือนพนักงานขององค์กร คงต้องพิจารณาว่า เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นให้นี้จะไปกระทบกับอะไรบ้าง เช่น เงินสมทบประกันสังคม สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การขึ้นเงินเดือนในปีถัดไป โบนัสตามผลงาน ฯลฯ . 2. เพิ่มเงินค่าครองชีพอีกก้อนหนึ่งแยกจากเงินเดือน เป็นอีกวิธีที่มีหลายบริษัททำกัน เราสามารถกำหนดเงินค่าครองชีพเพิ่มเติมให้กับพนักงาน โดยให้ทุกคนเท่ากัน และให้ประจำทุกเดือนไปเลย

Continue reading

จัดทำโครงสร้างเงินเดือนใหม่…เรื่องอะไรที่พนักงานกังวล ?

ทุกครั้งที่มีการพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือน มักจะมีพนักงานบางกลุ่มที่รู้สึกกลัวหรือกังวล เกี่ยวกับความไม่มั่นคง ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น . การปรับระบบโครงสร้างเงินเดือนมักมาพร้อมกับกระแสการต่อต้าน หรือเสียงบ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่บริษัทจะต้องรู้ถึงความกังวลของพนักงานว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย . 📌 กลัวเงินเดือนตัน หัวข้อนี้เป็นสิ่งที่พนักงานกลัวเป็นอันดับหนึ่งเลย เพราะถ้าเรานึกภาพของโครงสร้างเงินเดือน เราก็จะเห็นกรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งมีจุดต่ำสุด ค่ากลาง และจุดสูงสุด พนักงานก็มักจะกลัวว่าเงินเดือนของตนเองจะไปชนเพดานเงินเดือนซึ่งเรียกว่าเงินเดือนตันกระบอกนั่นเอง ในความเป็นจริง ถ้าพนักงานที่มีผลงานที่ดี มีฝีมือในการทำงานดี องค์กรย่อมต้องการพนักงานคนนี้ ซึ่งก็แปลว่า พนักงานคนนี้จะมีทางที่จะก้าวหน้าในบริษัทได้อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องของเงินเดือนตัน ก็ไม่น่าจะเกิดกับพนักงานที่เก่ง ๆ ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า พนักงานที่กลัวเงินเดือนตันก็คือพนักงานที่รู้ตัวว่าตนเองทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือนอยู่แล้ว ก็เลยกลัวว่าระบบจะเข้ามามีส่วนทำให้เขาได้ในสิ่งที่ไม่ควรจะได้น้อยลงไปอีก ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ระบบนี้น่าจะช่วยให้บริษัทได้ผลงานพนักงานและพนักงานเองก็จะต้องพัฒนาตนเองให้ทำงานได้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้ทำให้ตนเองเงินเดือนไม่ตันง่าย ๆ นั่นเอง . 📌 กลัวค่างานจะต่ำกว่าคนอื่น เวลาที่จะวางโครงสร้างเงินเดือนนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ การประเมินค่างาน ซึ่งการประเมินค่างานนั้นจะเป็นการประเมินความยากง่ายของตำแหน่งงานต่าง ๆ ที่อยู่ในองค์กร ซึ่งพนักงานเองก็จะกลัวว่า ตนเองจะถูกประเมินค่างานออกมาต่ำกว่าตำแหน่งงานอื่น ๆ . จริง ๆ แล้วการประเมินค่างานนั้นเป็นการประเมินที่ตำแหน่งงานโดยไม่ได้ดูตัวคนเลย และเวลาประเมินค่างานก็จะมีตำแหน่งที่ออกมาต่ำกว่าและสูงกว่าแน่นอนอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าถ้าเราถูกประเมินต่ำแล้วเราจะต่ำตลอดไป เพราะระบบนี้จะสร้างความก้าวหน้าทางสายอาชีพโดยเชื่อมกับค่างานได้ . 📌 กลัวจะถูกลดเงินเดือน ประเด็นนี้มีพนักงานหลายคนกลัวมาก เพราะคิดว่า

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr