ลาคลอด ได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน

ลาคลอด ได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน

ลาคลอด เป็นอีกหนึ่งสิทธิวันลาที่ลูกจ้างจะได้รับ โดยพนักงานที่ใช้สิทธิลาจะได้รับค่าจ้างในวันที่ลาด้วย

.

วันลาคลอด ไม่เท่ากับ ≠ วันลาป่วย

เนื่องจากทางกฎหมาย ได้กำหนดสิทธิวันลาคลอดไว้ให้โดยเฉพาะอยู่แล้ว และให้จำนวนวันมากกว่าวันลาป่วย ดังนั้น หากใครจะลาคลอด ต้องใช้สิทธิ “วันลาคลอด” เท่านั้น จะใช้สิทธิวันลาป่วยไม่ได้

.

ในเว็บไซต์ของสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่า “ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยนับรวมวันหยุด” และ พรบ.แรงงาน ก็ได้เพิ่มเติมมาอีก 8 วัน สำหรับการตรวจครรภ์ ดังนั้นจำนวนวันที่ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดได้ จากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน

.

นับเป็นการลาเพื่อคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง รวม 8 วัน ทั้งหมดเป็น 98 วัน

หากต้องการลาไปตรวจครรภ์ เดือนละครั้ง พนักงานก็สามารถใช้สิทธิวันลาคลอดได้เลย (ไม่ใช่สิทธิลาป่วย)

.

วันลาคลอด นับอย่างไร?

กฎหมายมาตรา 41 ระบุไว้ว่า ต้องนับรวมวันหยุด ด้วยซึ่งการ “นับรวมวันหยุด” ในมาตรา 41 นี้ ก็จะเป็นไปตามวันหยุดมาตรา 56 ซึ่งได้แก่

  1. วันหยุดประจำสัปดาห์ (เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)
  2. วันหยุดตามประเพณี
  3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี

สรุปได้ว่า หากลูกจ้าง/พนักงาน ตกลงกับทางบริษัทกันได้แล้วว่าจะเริ่มลาคลอด วันแรกในวันไหน สิทธิวันลาคลอดนั้นก็จะนับรวดเดียวจากวันนั้น ๆ ยาวไปเลยจนครบ 90 วัน

.

วันลาคลอด บริษัทต้องจ่ายเงิน อย่างไร?

ตามมาตรา 59 ระบุไว้ว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน

.

ซึ่งเนื่องจากตามกฎหมายเดิมให้ลาคลอดได้ 90 วัน และมีอัพเดทเพิ่มมาให้ลาไปตรวจครรภ์ได้อีก 8 วัน (เดือนละครั้ง) ดังนั้น วิธีคิดวันลาคลอด ที่บริษัทต้องจ่าย จะเป็นดังนี้

สิทธิลาคลอดตามกฎหมาย = 90 + 8 วัน

สิทธิวันลาคลอด บริษัทต้องจ่าย = 45 + 8 วัน

.

ทั้งนี้ตามมาตรา 59 ให้บริษัทจ่ายไม่เกิน 45 วัน ดังนั้น หากพนักงานไม่ได้ใช้สิทธิลาคลอดเพื่อไปตรวจครรภ์เดือนละครั้ง (8 วัน) บริษัทจะแค่ 45 วัน หรือจ่ายเพิ่มให้เป็น 45+8 ทีหลังก็ได้ตามแต่บริษัทและลูกจ้างตกลงกัน

แต่ห้ามจ่ายน้อยกว่านั้นเด็ดขาด เพราะหากจ่ายน้อยกว่า 45 วัน ก็จะถือว่า ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามมาตรา 59 และอาจจำต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทได้

.

References :

https://www.labour.go.th/index.php/hm8/59-2011-06-02-10-06-00

https://lb.mol.go.th/

Related Content :

 

Leave your thoughts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr