Law

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2 บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้ . ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) . สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน ฯลฯ . สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ . สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1 PDPA เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยิน รู้หรือยังว่าคืออะไร จะบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว ถ้าไม่ศึกษาไว้แล้วทำผิดพลาด อาจติดคุกได้เลย! . PDPA คืออะไร ? . PDPA หรือ Personal Data Protection Act เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้ . ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มักเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยง่าย ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์ เช่น การสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Application แม้แต่การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (เห็นได้จากตอนที่เราติดตั้ง Application แล้วระบบของ Smartphone ขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของเราก่อนใช้งาน) รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคลลที่องค์กรได้จากการสมัครงานของผู้สมัคร โดยสิ่งที่ปรากฏในใบสมัครงานนั้นมักเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงบุคคลนั้นได้โดยง่าย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ . ดังนั้น จึงได้มีการสร้าง กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

Continue reading

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : วันหยุด วันลา ตามกฎหมาย หยุดได้กี่วันกันนะ…?

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : วันหยุด วันลา ตามกฎหมาย หยุดได้กี่วันกันนะ…? วันหยุด วันลา ถือเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการที่องค์กรมอบให้พนักงาน แล้ววันลาที่ HR มอบให้ลูกจ้างนั้น เป็นไปตามกฎหมายหรือเปล่านะ บางที่ให้วันหยุดและสิทธิ์ในการลาหยุดมากจนรู้สึกว่า องค์กรนี้ใจดีจังเลย ในขณะที่บางที่นั้น วันหยุดตามประเพณียังต้องไปทำงาน แถมสิทธิ์ในการลาหยุดนั้นน้อยกว่าที่อื่น ๆ . บทความนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับวันหยุดตามกฎหมาย และสิทธิ์ในการลาหยุดตามกฎหมาย ที่ทั้ง HR และผู้ปฏิบัติงานต้องทราบ!!! HR เองก็จะต้องดูแลสิทธิ์ส่วนนี้ให้ครอบคลุมเพื่อป้องกันการฟ้องร้องทางกฎหมาย ในส่วนของลูกจ้างก็ต้องทราบไว้เพื่อไม่ให้โดนเอาเปรียบนะคะ . มาพูดถึง เวลาทำงาน และเวลาพัก กันก่อน กฎหมายกำหนดให้เวลาการทำงานของลูกจ้าง ไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ – หากเป็นงานด้านพาณิชยกรรม หรืองานทั่วไป จะให้ทำงาน ไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน ส่วนมากก็จะทำงานกัน 5 วัน จันทร์-ศุกร์ – หากเป็นงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฎกระทรวง จะให้ทำงาน ไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน และ ไม่เกิน 42

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr