Blog

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้

ประกันสังคม…เรื่องที่เด็กจบใหม่(และผู้ใหญ่)ต้องรู้ ประกันสังคมคืออะไร ทำไมต้องจ่าย? จ่ายแล้วได้อะไรบ้าง? เรื่องที่เด็กจบใหม่หลายคนอาจยังไม่รู้ (อย่าว่าแต่เด็กจบใหม่เลย ผู้ใหญ่บางคนก็ยังไม่รู้) 😂 . ประกันสังคม หรือ กองทุนประกันสังคม ช่องทางเลือกสำหรับสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตเพื่อสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต หรือแม้แต่การคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตร รวมถึงเมื่อสมาชิกว่างงาน ก็จะสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ . คนทำงานประจำในบริษัทหลายคนรู้เพียงแค่ว่า บริษัทจะหักเงินเข้าประกันสังคมจากเงินเดือนของเราในทุก ๆ เดือน แต่รู้หรือไม่ว่า เงินที่เราจ่ายไป 750 บาทต่อเดือน เราได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง แล้วถ้าเราไม่ได้เป็นพนักงานประจำในบริษัท เราสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคมได้หรือไม่? . กองทุนประกันสังคม แบ่งผู้ประกันตนได้ 3 ประเภท พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก (มาตรา 39) แรงงานนอกระบบ / อาชีพอิสระ (มาตรา 40) ผู้ประกันตนแต่ละประเภทมีอัตราการจ่ายเงินแตกต่างกัน และจะได้สิทธิ์และความคุ้มครองต่างกัน . ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่

Continue reading

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน

ไม่มีใคร ‘โง่’ เพราะความฉลาดมีถึง 9 แบบ…คุณเป็นแบบไหน ความฉลาด ใครเป็นคนนิยาม ความฉลาดคือต้องรู้หรือต้องเก่งอะไรจึงจะเรียกว่า ‘คนฉลาด’ เก่งคำนวณ? พูดได้หลายภาษา? หรือคะแนนทดสอบ IQ สูงกว่าคนทั่วไป คือ คนฉลาด? แปลว่าใครที่ไม่มีความสามารถตามที่กล่าวมาข้างต้นคือ ‘คนโง่’ อย่างนั้นหรือ โนวววววว จำกัดความคำว่า ฉลาด ไว้แค่นั้นไม่ได้นะคะ คนเก่งดนตรี ศิลปะ ทำอาหาร หรือทักษะอื่น ๆ ก็คือคนฉลาดค่ะ . ทฤษฏีนี้เป็นของ ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ “ทฤษฎีพหุปัญญา” (The Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์ได้ให้ทฤษฎีพหุปัญญาว่าด้วยความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 9 ด้านด้วยกันค่ะ . 1. Logical-Mathematical Intelligence ฉลาดเรื่องตัวเลขและตรรกะ ความฉลาดตามมาตรฐานโรงเรียนทั่วไป ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นเหตุเป็นผล และมีทักษะการคำนวณ การแก้ปัญหา การมีความละเอียดรอบคอบ ผู้ที่มีความฉลาดด้านนนี้ เช่น นักบัญชี นักสถิติ

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 2 บทความตอนที่ 1 เรากล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของ PDPA ไปแล้ว ในบทความนี้เราจะพาไปดู “สิทธิ” ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ “โทษ” ของการละเมิดกฎหมาย PDPA รวมถึง “ข้อสงสัย” ที่กำลังถกเถียงกันเมื่อ PDPA ถูกบังคับใช้ . ใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right) . สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนหรือในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูลนั้น ๆ นำไปใช้ทำอะไรหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง เก็บข้อมูลอย่างไร เก็บนานแค่ไหน ฯลฯ . สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิทธินี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขัดหรือส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับสิทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับคำขอ . สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม

Continue reading

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1

ตามให้ทัน…PDPA…ใครต้องรู้บ้าง ตอนที่ 1 PDPA เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยิน รู้หรือยังว่าคืออะไร จะบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้แล้ว ถ้าไม่ศึกษาไว้แล้วทำผิดพลาด อาจติดคุกได้เลย! . PDPA คืออะไร ? . PDPA หรือ Personal Data Protection Act เป็นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือ ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนนำไปใช้ . ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มักเข้าถึงหรือได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยง่าย ไม่ว่าจะช่องทางออนไลน์ เช่น การสมัครสมาชิกของลูกค้าหรือผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ การทำธุรกรรมผ่าน Application แม้แต่การขอเข้าถึงตำแหน่ง GPS ก็ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (เห็นได้จากตอนที่เราติดตั้ง Application แล้วระบบของ Smartphone ขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของเราก่อนใช้งาน) รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคลลที่องค์กรได้จากการสมัครงานของผู้สมัคร โดยสิ่งที่ปรากฏในใบสมัครงานนั้นมักเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงบุคคลนั้นได้โดยง่าย เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ . ดังนั้น จึงได้มีการสร้าง กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

Continue reading

“มีอะไรจะถามไหม?” คำถามที่ต้องเจอตอนสัมภาษณ์งาน…ถามอะไรดี?

“มีอะไรจะถามไหม?” คำถามที่ต้องเจอตอนสัมภาษณ์งาน…ถามอะไรดี? ช่วงสุดท้ายของการสัมภาษณ์งาน เรามักจะถูกถามคำถามนี้จาก HR หรือผู้ที่ทำการสัมภาษณ์เรา “มีคำถามอะไรที่อยากถามไหม” “อยากรู้อะไรไหม ถามได้นะ” หากคนสัมภาษณ์ยิงคำถามนี้มา นั่นคือคาดหวังให้คุณถามกลับเพื่อเน้นย้ำว่าคุณสนใจในตำแหน่งงานนี้ และนี่ยังเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้รู้จักองค์กรก่อนเข้าทำงานด้วย แล้วคำถามอะไรบ้างที่คุณควรถามเมื่อมีโอกาส . ถามเกี่ยวกับงาน ข้อมูลอะไรที่ยังไม่ชัดเจนใน Job Description ของงาน หน้าที่หลัก ภาระงานในแต่ละวัน งานอื่น ๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของคุณโดยตรง ถามได้และควรถามด้วย เพราะคุณจะได้รู้ว่านอกเหนือจากหน้าที่หลักที่คุณรู้ว่าต้องทำแล้ว มีอะไรบ้างที่คุณจะต้องเจอ อาจมีภาระงานอื่น ๆ ที่คุณอาจต้องทำเป็นครั้งคราว ความท้าทายของงานนี้คืออะไร Career Path ของตำแหน่งงานนี้เป็นอย่างไร เติบโตไปได้ในระดับไหน สามารถหมุนเวียนหรือย้ายสายงานไปตำแหน่งใดในองค์กรได้บ้าง ก่อนเริ่มงานต้องเตรียมตัวอย่างไร มีอบรมเตรียมความพร้อม หรือ Training ให้หรือไม่ KPIหรือหัวข้อประเมินการทำงานเช่นเรื่องอะไรบ้าง คำถามเหล่านี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์รับรู้ได้ว่าคุณมีความสนใจในตำแหน่งงานนี้ มีความอยากเตรียมพร้อมทั้งก่อนเริ่มงานไปจนถึงอนาคตในการทำงานนี้ . ถามเกี่ยวกับองค์กร วัฒนธรรมขององค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง สไตล์การทำงานเป็นอย่างไร นอกจาก Hard Skills จะเป็นเรื่องสำคัญของการทำงานแล้ว Soft Skills หรือ Power Skills บางอย่างก็จะบอกได้ว่าเรามีบุคลิกลักษณะที่จะเข้ากับองค์กรได้หรือไม่ ทีมมีกี่คน เราต้องทำงานกับใครบ้าง

Continue reading

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม?

QA กับ Tester… 2 อาชีพนี้ เหมือนกันไหม? หลายครั้งที่เราได้ยินคนเรียก นักทดสอบระบบว่า Software Tester ในขณะที่ QA หรือ Quality Assurance ก็ทำหน้าที่ทดสอบระบบเหมือนกัน…แล้ว 2 ตำแหน่งนี้ทำงานเหมือนหรือต่างกันยังไง? . ในการเขียน Software (Web หรือ Application) ขึ้นมาสักชิ้นหนึ่งโดยทีม Programmer / Software Developer ทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง จะต้องมีการ Test หรือทดสอบระบบของ Software นั้น ๆ เพื่อให้ระบบทำงานได้ตามที่นักพัฒนาต้องการหรือคาดหวังไว้ โดยผู้ที่ทำการทดสอบระบบ เราเรียกว่า Software Tester นั่นเอง แต่ในหลายองค์กร เราก็เรียก Tester ว่า QA หรือ Quality Assurance นอกจากความต้องการทดสอบให้ระบบรันไปตามที่ควรจะเป็นแล้ว Tester / QA ยังต้องคอยหาจุดบกพร่อง หรือ Bug ที่จะเกิดขึ้นระหว่างใช้งานระบบ รวมถึงต้องคอยติดตาม ทำการทดสอบซ้ำ

Continue reading

Burnout!!! ภาวะหมดไฟ แก้ยังไง ไม่ให้ไฟหมด

Burnout…ภาวะหมดไฟ แก้ยังไง ไม่ให้ไฟหมด “Burnout Syndrome” ภาวะหมดไฟจากการทำงานที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่ เกิดจากอะไร แก้ยังไงดี ก่อนที่ไฟจะหมดลงจริง ๆ . Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นภาวะที่คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สาเหตุหลักเกิดจากความเครียดและกดดัน งานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักหรือผ่อนคลายจิตใจ ส่งผลกระทบถึงอารมณ์และความรู้สึก เกิดความเหยื่อล้า อ่อนเพลีย ท้อแท้ หมดพลัง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน บางครั้งส่งผลเสียถึงสุขภาพจนถึงขั้นต้องลาออกจากงานจริง ๆ นอกจากสาเหตุด้านความเครียดจากงานหนักแล้ว ยังเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวอีกด้วย เช่น ความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ปัญหาภายในทีม ความไม่ยุติธรรมที่ถูกปฏิบัติจากนายจ้าง หรือแม้แต่การกดดันตัวเอง ตั้งมาตรฐานการทำงานชองตัวเองสูงเกินไป เมื่อไม่ประสบความสำเร็จก็เกิดความผิดหวังและด้อยค่าตัวเองได้ . สังเกตตัวเอง คุณ Burnout อยู่หรือเปล่า ? อาการทางใจ – หดหู่ ขาดแรงจูงใจ ไม่อยากตื่นขึ้นมาทำงาน รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ สิ้นหวัง ขี้เกียจทำงานแล้ว อยากลาออก อาการทางกาย – ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ปวดหัวบ่อย หมดแรง เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากเกินไป คลื่นไส้ เวียนหัว

Continue reading

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร?

นายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างหยุดวันแรงงาน ต้องโดนอะไร? โดยปกติแล้ว วันแรงงานแห่งชาติมักจะตรงกับวันทำงาน จันทร์-ศุกร์ พนักงานก็จะได้หยุดตามปกติ แต่ปีนี้วันแรงงานตรงกับวันอาทิตย์พอดี ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของใครหลาย ๆ คนอยู่แล้ว แล้วใครได้หยุด ใครต้องทำงาน ใครกำลังโดยนายจ้างเอาเปรียบ ไปอ่านกัน! . พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคมด้วย ส่วนอีก 12 วันเลือกจากวันหยุดราชการ วันหยุดทางศาสนา หรือวันหยุดตามประเพณีท้องถิ่น . วันหยุดวันแรงงานแห่งชาติจะบังคับให้เป็นวันหยุดของ ลูกจ้าง แรงงาน และพนักงานบริษัทเอกชน รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี แต่หากเป็นธนาคารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้าอาจเปิดทำการในบางแห่ง ส่วนข้าราชการ พนักงานในหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้หยุดในวันแรงงานแห่งชาติ แต่จะได้หยุดชดเชยอีกครั้งในวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 วันฉัตรมงคล และวันพืชมงคล (เอกชนจะไม่ได้หยุดในวันนี้) . ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน ระบุไว้ว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

Continue reading

ประเมินผลการทำงานของชาว Developer…ไม่ได้วัดกันแค่ Technical Skills

ประเมินผลการทำงานของชาว Developer…ไม่ได้วัดกันแค่ Technical Skills เป็น Developer เขียน Code ทำ Web / App ส่งลูกค้าก็จบแล้ว ประเมินผ่าน/ไม่ผ่าน ก็แค่เรื่องเขียน Code ….No No No! ใครว่าแค่เขียน Code เก่งแล้วผลการประเมินจะออกมาดีเลิศ . หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการทำงานของชาว IT คงจะคิดว่า การที่ Developer / Programmer / หรือชาว IT ในส่วนงานอื่น ๆ ได้ต้องรับการประเมินการปฏิบัติงานเนี่ย เขาคงวัดกันที่ Technical Skills เป็นหลัก เช่น Coding ได้ วิเคราะห์ปัญหา แก้ Bug รันระบบได้ Website หรือ Application ที่ทำขึ้นใช้งานได้ตรงใจลูกค้า ก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง การวัดผลการทำงานไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่เรื่อง Technical อย่างเดียว ยังมีตัวชี้วัดในหลายด้านที่มีความสำคัญไม่แพ้กันอีกหลายข้อเลยค่ะ . Communication Skills

Continue reading

ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล ใครว่าไม่ต่าง…คุณใช้ถูกหรือยัง ?

ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล ใครว่าไม่ต่าง…คุณใช้ถูกหรือยัง ? ประสิทธิภาพ กับ ประสิทธิผล หลายคงคุ้นเคยกับคำว่า ประสิทธิภาพ มากกว่า แต่ก็คงเคยได้ยินคำว่า ประสิทธิผล มาด้วยเช่นกัน จริงแล้ว 2 คำนี้มีความหมายที่ต่างกันอยู่ บางคนเลือกใช้คำผิดบริบท ทำให้สื่อความหมายผิดได้เลยนะคะ ถามว่าต่างกันแค่ไหน ก็ต่างกันแบบไม่สามารถเอามาใช้แทนกันได้ เพราะมันเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกันอยู่ อาจดูเล็กน้อยแต่ใช้ผิดก็ความหมายเปลี่ยนได้เลย…แล้วที่หลาย ๆ คนเข้าใจอยู่นั้นถูกหรือยังนะ? . ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการทำงานให้เกิดผลจากการทำงาน  บรรลุเป้าหมายหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยเป็นไปตามสิ่งที่คาดหวัง เช่น เสร็จทันเวลา ประหยัดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร ผ่าน QC หรือ มีคุณภาพตามที่ระบุไว้ โดยผลที่เกิดขึ้นจะเป็นเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยหลักของ ประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย เวลา และ คุณภาพ . ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลลัพธ์ หรือ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานที่บรรลุเป้าหมายและได้คุณภาพตามที่ต้องการหรือคาดหวังไว้ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เป้าหมายที่ใช้วัด ประสิทธิผล

Continue reading

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr