กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : สัญญาจ้างงาน…ไม่ต้องเซ็นก็เป็น ‘สัญญา’ ได้
กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : สัญญาจ้างงาน…ไม่ต้องเซ็นก็เป็นสัญญาได้ สัญญาการจ้างงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตกลงจ้างงานกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพราะนี่คือ ‘หลักฐาน’ ที่แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานนั้นสมบูรณ์ แล้วสัญญาแบบไหนที่นายจ้างควรจัดทำขึ้นเพื่อไม่ให้ผิดต่อหลักกฎหมายและลูกจ้างจะไม่โดนเอาเปรียบ . ‘สัญญา’ คืออะไร ? สัญญาการจ้างงาน ตามกฎหมายแรงงาน คือ สัญญาการตกลงว่าจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งหากตกลงด้วยวาจาทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่ายยอมรับแล้ว ก็ถือเป็นสัญญาจ้างงานแล้ว และเมื่อลูกจ้างลงมือทำงานให้นายจ้าง ก็ถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง องค์กรแทบทุกแห่งจะจัดทำเป็น ‘หนังสือสัญญาจ้าง’ ซึ่งจะระบุข้อมูลองค์กร รายละเอียดของงาน ข้อกำหนด เงื่อนไขการทำงานต่าง ๆ ให้เข้าใจและรับรู้ร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งต้องไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน ไม่เช่นนั้น สัญญานั้นจะกลายเป็นโมฆะ นอกจากนั้น หากไม่มีการทำหนังสือสัญญาหรือตกลงกันด้วยวาจา แต่อาจมีกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าจ้างให้ แต่ไม่ได้ตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น จะเป็นการตกลงจ้างงานโดยปริยาย ก็ถือเป็นสัญญาจ้างได้เช่นกัน . ปพพ. มาตรา ๕๗๕ บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะจ่ายสินจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้” . พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
Continue reading