กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : สัญญาจ้างงาน…ไม่ต้องเซ็นก็เป็น ‘สัญญา’ ได้

กฎหมายน่ารู้ ฉบับ HR มือใหม่ : สัญญาจ้างงาน…ไม่ต้องเซ็นก็เป็นสัญญาได้

สัญญาการจ้างงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตกลงจ้างงานกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพราะนี่คือ ‘หลักฐาน’ ที่แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานนั้นสมบูรณ์ แล้วสัญญาแบบไหนที่นายจ้างควรจัดทำขึ้นเพื่อไม่ให้ผิดต่อหลักกฎหมายและลูกจ้างจะไม่โดนเอาเปรียบ

.

สัญญา’ คืออะไร ?

สัญญาการจ้างงาน ตามกฎหมายแรงงาน คือ สัญญาการตกลงว่าจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งหากตกลงด้วยวาจาทั้งสองฝ่าย และทั้งสองฝ่ายยอมรับแล้ว ก็ถือเป็นสัญญาจ้างงานแล้ว และเมื่อลูกจ้างลงมือทำงานให้นายจ้าง ก็ถือว่าสัญญาเป็นอันสมบูรณ์ แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง องค์กรแทบทุกแห่งจะจัดทำเป็น หนังสือสัญญาจ้างซึ่งจะระบุข้อมูลองค์กร รายละเอียดของงาน ข้อกำหนด เงื่อนไขการทำงานต่าง ๆ ให้เข้าใจและรับรู้ร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งต้องไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน ไม่เช่นนั้น สัญญานั้นจะกลายเป็นโมฆะ นอกจากนั้น หากไม่มีการทำหนังสือสัญญาหรือตกลงกันด้วยวาจา แต่อาจมีกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานพร้อมจ่ายค่าจ้างให้ แต่ไม่ได้ตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น จะเป็นการตกลงจ้างงานโดยปริยาย ก็ถือเป็นสัญญาจ้างได้เช่นกัน

.

ปพพ. มาตรา ๕๗๕ บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะจ่ายสินจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้”

.

พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕ บัญญัติว่า “สัญญาจ้างแรงงาน หมายความว่า สัญญาไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้”

.

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง

นายจ้าง  นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามตกลง

ลูกจ้าง ต้องทำงานให้นายจ้างตามภาระงานที่ตกลงกัน นอกจากนี้ยังต้องรักษาประโยชน์ของนายจ้างหรือองค์กร รักษาความลับทางธุรกิจ ไม่เผยแพร่หรือนำข้อมูลอันก่อให้เกิดความเสียหายไปใช้ในทางไม่ดี

.

ส่วนประกอบของสัญญาจ้างที่ควร(ต้อง)มี

– ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา

– ระยะเวลาจ้างงาน กำหนดวันที่เริ่มงานชัดเจน

– สถานที่ทำงาน ชั่วโมงทำงาน เวลาพัก จำนวนวันหยุด

– ตำแหน่งและลักษณะงานที่ลูกจ้างจะต้องทำงานให้นายจ้าง

– ระยะเวลาทดลองงาน ต้องระบุให้ชัดเจน เนื่องจากระยะทดลองงานขององค์กรแต่ละที่นั้นแตกต่างกัน มีตั้งแต่ 90 วัน – 180 วัน แต่ส่วนมากจะไม่เกิน 119 วัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 118 (1) กำหนดไว้ว่าให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ในอัตราที่ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน จึงเป็นช่องว่างให้นายจ้างมักเลิกจ้างพนักงานทดลองงานก่อนครบอายุงาน 120 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ว่าพนักงานทำงานครบ 120 วันหรือไม่ เพราะถ้าเลิกจ้างในวันที่ครบกำหนด หรือมากกว่า โดยที่พนักงานไม่ได้มีความผิดใดๆ ตามมาตรา 119 นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยเหมือนพนักงานที่บรรจุปกติทั่วไป

อัตราค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่น ๆ ค่าตอบแทนทำงานล่วงเวลา

– การบอกเลิกสัญญาจ้าง ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง เช่น แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 30 วัน

– เงื่อนไขอื่น ๆ เช่น การรักษาความลับ ห้ามลูกจ้างทำงานให้องค์กรอื่น ฯลฯ

ลายมือชื่อของนายจ้าง ลูกจ้าง และพยาน อย่างน้อย 2 คน

.

การเลิกจ้างแรงงาน หรือ ยกเลิกสัญญาจ้าง

สามารถทำได้จากทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง โดยให้อ้างอิงจากข้อตกลงในหนังสือสัญญา เช่น แจ้งลาออกหรือให้ออกล่วงหน้า 30 วัน 15 วัน หรือตามตกลง

หากนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ต้องจ่ายค่าชดเชยอย่างไร ?

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ดังนี้

  1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้างเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19)

หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้

หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน -1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย

หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 -3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย

หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 -6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย

หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 -10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย

หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 -20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย

หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย

  1. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

หากนายจ้าง “ไล่ออก” โดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไปแล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่วงหน้าว่าจะให้ออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้มากที่สุดจะไม่เกินค่าจ้าง 3 ดือน

.

หากมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน การยกเลิกสัญญาจ้างงานอย่างไม่ยุติธรรม หรือเกิดความปัญหาตรงส่วนใด สามารถขอรับคำปรึกษาจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทวงแรงงาน สายด่วน สายด่วน 1506 กด 3  และ 1546

 

References :

http://www.nakhonsawan.go.th/joomla/index.php?option=com_content&view=article&id=4049:2021-09-22-07-37-56&catid=26:2018-02-15-04-16-33&Itemid=217

https://www.ssrecruitment.com/th/resources/what-is-really-thailands-employment-probation-period-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/

https://www.businessplus.co.th/Activities/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-hrm-c021/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-v5806

Related Content :

 

.

 

 

.

 

 

 

 

Leave your thoughts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr