“มกราคม” ที่แสนยาวนาน กับอาการสุดฮิต “Post-Vacation Blue”

“มกราคม” ที่แสนยาวนาน กับอาการสุดฮิต “Post-Vacation Blue”

“ทำไมเดือนมกราคมถึงผ่านไปช้าจัง” คำถามเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นในหัวของผู้อ่านบทความนี้แน่นอนใช่ไหมคะ แม้แต่ผู้เขียนเองก็รู้สึกเช่นกันว่า ทำไม…เดือนมกราคม…ถึงได้นานนนนนนนขนาดนี้ ราวกับว่าเดือนนี้มี 36 วัน “เมื่อไหร่จะปีใหม่อีกนะ จะได้หยุดยาว ทำงานไม่มีความสุขเลย” ความรู้สึกเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

.

สำหรับความคิดหรืออาการเหล่านี้ มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เป็นข้อมูล ยืนยันว่า “ท่านไม่ได้รู้สึกแบบนี้คนเดียว” สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และไม่ใช่เรื่องแปลกเลยค่ะ

.

ความรู้สึกที่คิดว่า เดือนมกราคมนั้นผ่านไปช้ามาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนแรกของปีนั้นช่างเยอะเสียจนคิดว่าผ่านไปแล้ว 3 เดือน ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านี้ คือ สารโดปามีน” สารแห่งความสุข ส่วนสำคัญของนาฬิกาสมองที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่เรารู้สึกมีสุข สบายใจ ตื่นเต้น ซึ่งสารชนิดนี้จะกระตุ้นให้นาฬิกาสมองเดินเร็วขึ้น ทำให้คุณรู้สึกว่า “ช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นผ่านไปไวเสียจริง” ในทางกลับกัน หากเรารู้สึกไม่มีความสุข ไม่สบายใจ ไม่มีเรื่องน่าตื่นเต้นใด ๆ หรือมีเรื่องเครียดให้สมองต้องโฟกัสกับสิ่งเร้าเหล่านั้น ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่า เวลานั้นผ่านไปช้าจนน่าหงุดหงิด ทั้ง ๆ ที่เวลาก็เดินไปตามปกติของมัน ยิ่งถ้าบริษัทของคุณงานเข้าตั้งแต่เดือนแรกของปี (งานเข้า ที่หมายถึง งานยุ่ง งานเยอะ งานเร่ง) ความหงุดหงิดใจนี้จะยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก และเมื่อจินตนาการว่าจะต้องเจอแบบนี้อีก 11 เดือนที่เหลือเลยไหม ก็ยิ่งท้อแท้และสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก

.

ปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขและไม่สบายใจนั้น อาจเกิดขึ้นหลักจากการได้หยุดพักผ่อนหลายวันในช่วงเทศกาล ได้กลับไปอยู่กับครอบครัว ได้ปาร์ตี้กับเพื่อน ๆ หรือแม้แต่ได้นอนอยู่บ้านเฉย ๆ เมื่อเวลาแห่งความสุขจบลงและเวลาแห่งการทำงานได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ใครหลายคนหงุดหงิด “อะไรกัน ได้พักแป๊บเดียวต้องมาทำงานแล้ว” อาการแบบนี้เรียกว่า Post-Vacation Blues หรือ Post-Holiday Blues แต่ในทางการแพทย์มักช้ำคำว่า Post-Travel Depression (PTD) เป็นอาการหวนคิดถึงความรู้สึกสุขในช่วงเวลาที่เราได้ท่องเที่ยว พักผ่อน ยิ่งคิดก็ยิ่งทำให้หงุดหงิด อยากให้ถึงวันหยุดยาวครั้งต่อไปไว ๆ ทำให้รู้สึกเหมือนว่า เวลานั้นผ่านไปช้ามาก โดยเฉพาะหลังวันหยุดปีใหม่ที่หยุดยาวถึง 5 วัน บางคนได้หยุดตั้งแต่คริสต์มาส เมื่อต้องกลับมาทำงานในเดือนมกราคม ทำให้เดือนแรกของปีนั้นกลายเป็นเดือนที่ยาวนานไม่เหมือนกับเดือนสุดท้ายของปีอย่างเดือนธันวาคม ทั้ง ๆ ทีมี 31 วันเท่ากันเป๊ะ

.

อาการที่เกิดขึ้นเแม้จะไม่ใช่โรคทางจิตเวชและเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว แต่ก็ถือว่าเป็นอาการที่สามารถรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานได้ ซึ่งหากอาการเหล่านี้ยังไม่หายไปเอง และยังเกิดขึ้นในระยะยาว ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ เพื่อทำการเยียวยาและแก้ไขให้คลายความไม่สบายใจตรงส่วนนี้ไป ลองหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ อาจช่วยให้เวลาผ่านไปไวขึ้นและไม่โหยหาการท่องเที่ยวในครั้งหน้ามากเกินไปจนทำให้จิตใจว้าวุ่นได้

.

อีก 3 วันก็จะขึ้นเดือนใหม่แล้ว ขอให้ 11 เดือนที่เหลือในปี 2022 นี้เป็นช่วงเวลาที่ดีของทุกคนค่ะ…สวัสดีปีใหม่ 😊

.

References :

https://today.line.me/th/v2/article/8qW7Wq

https://thematter.co/social/why-january-feel-so-long/99453

https://thematter.co/brief/132699/132699

Related Content :

Leave your thoughts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr