ประเมินผลการทำงานของชาว Developer…ไม่ได้วัดกันแค่ Technical Skills

ประเมินผลการทำงานของชาว Developer…ไม่ได้วัดกันแค่ Technical Skills

เป็น Developer เขียน Code ทำ Web / App ส่งลูกค้าก็จบแล้ว ประเมินผ่าน/ไม่ผ่าน ก็แค่เรื่องเขียน Code ….No No No! ใครว่าแค่เขียน Code เก่งแล้วผลการประเมินจะออกมาดีเลิศ

.

หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการทำงานของชาว IT คงจะคิดว่า การที่ Developer / Programmer / หรือชาว IT ในส่วนงานอื่น ๆ ได้ต้องรับการประเมินการปฏิบัติงานเนี่ย เขาคงวัดกันที่ Technical Skills เป็นหลัก เช่น Coding ได้ วิเคราะห์ปัญหา แก้ Bug รันระบบได้ Website หรือ Application ที่ทำขึ้นใช้งานได้ตรงใจลูกค้า ก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง การวัดผลการทำงานไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่เรื่อง Technical อย่างเดียว ยังมีตัวชี้วัดในหลายด้านที่มีความสำคัญไม่แพ้กันอีกหลายข้อเลยค่ะ

.

Communication Skills

ทักษะสำคัญที่สุดของชาว IT (และวงการอื่น ๆ ) ขาดไม่ได้เลยคือ ทักษะการสื่อสาร เพราะทุกการทำงานต้องใช้การสื่อสารเป็นตัวกลางที่เสริมสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในทุก ๆ ส่วน ทักษะนี้ใช้ตั้งแต่รับมอบหมายงาน ระหว่างการทำงานร่วมกับทีม และขั้นตอนการนำเสนอหรือส่งมอบชิ้นงาน

.

เป้าหมายหลักของการสื่อสาร คือ สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้กับชิ้นงาน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของการสื่อสาร คือ การสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน หากใครคนใดคนหนึ่งในทีมเกิดความเข้าใจผิดพลาด หรือไม่สื่อสารกันเมื่อเกิดปัญหา ความผิดพลาดจากการทำงานคนละทางกันจะกระทบเป็นวงกว้างมากแค่ไหน เพียงเพราะไม่ยอมพูดคุยและบอกเล่าปัญหา หรือแม้แต่อายที่จะถามซ้ำหรือถามคำถามที่ตนไม่เข้าใจ ยิ่งคนที่สื่อสารกันไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานเท่ากัน การใช้คำศัพท์ทางเทคนิคหรือศัพท์เฉพาะ อาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันได้

ทำงานดีแค่ไหน แต่ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่อง ก็พังตั้งแต่เริ่มแล้วค่ะ

.

Time Management

การจัดสรรเวลาถือเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอีกทักษะหนึ่ง เรามักจะเห็น Developer ทำงานกันเกินเวลางาน แถมยังรับงานฟรีแลนซ์เพื่อหารายได้เสริม จึงต้องทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ คำนี้ไม่เกินจริง… เมื่อต้องโฟกัสกับงานทั้ง 2 ทาง แถมยังมีงานต่อคิวรออีกเพียบ และงานที่เสร็จสมบูรณ์ก็ต้องมีคุณภาพตามความคาดหวังของนายจ้าง ดังนั้นการจัดสรรและบริหารเวลาถือเป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้ดี หลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานรับงานเสริมได้ แต่ต้องไม่กระทบกับงานหลัก ซึ่ง Developer ส่วนมากก็จะใช้ช่วงเวลาสำหรับพักผ่อนไปทำงานเสริม สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาสุขภาพที่อาจกระทบต่อการทำงานทุกส่วน การทำงานของสมองเปลี่ยนแปลงไป สุขภาพจิตที่ย่ำแย่กระทบต่อเพื่อนร่วมงาน ก็เป็นเรื่องท้าทายอย่างหนึ่งว่า จะจัดการงานกับเวลาอย่างไรให้พอดี และส่งผลต่อประสิทธิผลของการทำงานในทางที่ดี

.

Strategic Thinking

การทำงานของ Developer ในองค์กรนั้น นอกจากจะต้องเข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนแล้ว ยังต้องเข้าใจแนวทางของธุรกิจและวิธีทางบรรลุเป้าหมายขององค์กรด้วย การให้ความสำคัญกับงานที่ทำอยู่ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราเข้าใจธุรกิจของงานที่ทำอยู่ด้วย เป้าหมายของแต่ละธุรกิจนั้นต่างกัน วิธีการทำงานอาจคล้ายกันแต่แนวทางสู่ความสำเร็จต่างกันแน่นอน หากเราสามารถนำทักษะบางอย่างที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อส่งเสริมเส้นทางสู่เป้าหมายขององค์กรมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เส้นท้างคว้าดาวก็ไม่ไกลเกินเอื้อม

.

Leadership

ทักษการเป็นผู้นำที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำ ในบทความก่อน ๆ ผู้เขียนเคยกล่าวแล้วว่า ผู้นำบางคนขาดทักษะความเป็นผู้นำ ในขณะที่คนมีความเป็นผู้นำสูง ๆ อาจไม่ได้อยู่ระดับผู้นำก็ได้ ทักษะความเป็นผู้นำนั้นสามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น การเริ่มเสนอความคิดเห็นหรือไอเดียใหม่ ๆ ทำให้คนอื่น ๆ กล้าที่จะเสนอตาม การแบ่งปันความรู้ที่ตนถนัดโดยจัด Session แชร์ความรู้โดยตัวเองดำเนินการสอนให้กับผู้ที่สนใจ หรือแม้แต่การท้าทายความสามารถของตัวเองด้วยการลองเป็นผู้นำในโปรเจคที่เราสนใจและคิดว่าเราสามารถทำได้ดี อะไรที่ดีแล้วก็นำไปใช้ได้ อะไรที่ต้องแก้ไขก็นำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อ

.

Technical Knowledge

และแน่นอนที่สุดขาดที่ไม่ได้เลย ก็คือ ทักษะเฉพาะทางของชาว Developer นี่แหละค่ะ ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่เอามาประกอบกันเป็นชิ้นงานหนึ่ง ไม่ใช่เพียงแค่รู้ผิวเผิน การที่ Developer จะทำงานชิ้นหนึ่งให้สำเร็จได้นั้น ระหว่างทางต้องเจอปัญหามากมาย การรู้เพียงแค่ว่าเครื่องมือนี้ใช้งานอย่างไร ต้อง Coding รูปแบบอะไรมันไม่เพียงพอเลยค่ะ การจะเป็น Developer ได้ ต้องเริ่มจากมีความคิดเป็นระบบ มี Logic บางอย่างที่สามารถมองภาพรวมของงานได้ตั้งแต่ยังทำไม่สำเร็จ และทักษะการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวระบบเองก็ต้องเป็นเลิศ การ Coding ผิดแค่ 1 ตัว ก็มีผลต่อระบบแล้ว และยังต้องนำงานของแต่ละคนในทีมมาประกอบกันเป็นชิ้นงานสมบูรณ์ การรู้ลึกและรู้จริงจะทำให้งานเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดหรือหากเกิดปัญหาขึ้นจะสามารถแก้ไขได้โดยเร็ว

(แอบคิดว่า การจะเป็น Developer ได้ มีต้องมีพรสวรรค์ด้วยนะเนี่ย เพราะผู้เขียนเองมองยังไงก็ไม่เข้าใจอยู่ดีค่ะ ฮ่าๆๆๆ)

.

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของตัวชี้วัดในการประเมินการปฏิบัติงานของชาว Developer นอกจากเรื่อง Technical Skills แล้ว อย่าลืมโฟกัสกับ Skills รอบตัวที่เรานึกไม่ถึงแต่จริง ๆ แล้ว สุดแสนจะสำคัญและเป็นประโยชน์กับการทำงาน

.

Reference :

https://codium.co/blogs/21-5-key-metrics-to-measure-developer-performance

Related Content :

Leave your thoughts

Optimistic HR Recruitment Co., Ltd.

27 Soi Somdejprachaotaksin 14
Bukkalo Thonburi 10600
TAX ID: 0105552066498

©2024 Copyright
All Right Reserved
[email protected]
092-991-6251
02-466-5688
www.optimistic.com | @optimistichr